ปราชญ์ป่า : กระบวนการสร้างจิตสำนึกร่วมในการจัดการ ป่าชุมชนต้นแบบ เขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน

Main Article Content

Phramaha Prakasit Sirimato
Decha Kuppako
Phramaha Boonlert Inthapanyo

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 40 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ 15 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ


             ผลการวิจัยพบว่า 


  1. รูปแบบการจัดการป่าชุมชนต้นแบบเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน สรุปได้ ๒ รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการจัดการที่เรียกว่า “แบบดั้งเดิม” คือ การจัดการอนุรักษ์ พิทักษ์ป่าชุมชนที่ดำเนินการด้วยองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ความเชื่อ ความศรัทธา กฎกติกาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต และรูปแบบการจัดการที่เรียกว่า “แบบสมัยใหม่” คือ การจัดการอนุรักษา พิทักษ์ป่าชุมชนที่มีหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมป่าไม้ เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามาเป็นเจ้าของและจัดการป่าชุมชนด้วยตนเองและทำงานร่วมกัน โดยภาครัฐจะเป็นผู้กำกับดูแลการจัดการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้

  2. ปราชญ์ป่าได้แสดงบทบาทต่อการพัฒนางานเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชน ได้แก่ 1) บทบาทผู้ให้ความรู้ 2) บทบาทผู้สร้างกระบวนการจัดการ 3) บทบาทผู้นำทางภูมิปัญญา 4) บทบาทผู้สร้างเครือข่าย และ 5) บทบาทผู้ประสานสัมพันธ์ โดยปราชญ์ป่านั้นได้แสดงบทบาทในการจัดการป่าที่ประกอบด้วยภูมิความรู้ ภูมิธรรม และคุณลักษณะภาวะผู้นำ คือ “ปราชญ์ป่าเชิงพุทธ” โดยได้นำหลักพุทธธรรมมาบูรณาการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกร่วมในการจัดการอนุรักษ์พิทักษ์ป่าชุมชน

  3. 3. กระบวนการสร้างจิตสำนึกร่วมในการจัดการป่าชุมชนตนแบบของปราชญ์ป่า มี 5 กระบวนการ เรียกว่า “KLIPS Model” ประกอบด้วย 1) K = knowledge (กระบวนการให้ความรู้) 2) L = leadership (กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำ) 3) I = innovation (กระบวนการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรม) 4) P= participation (กระบวนการสร้างเสริมการมีส่วนร่วม) และ 5) S = Social Networks (กระบวนการสานสัมพันธ์เครือข่ายทางสังคม) โดยกระบวนทำงานด้านการสร้างจิตสำนึกร่วมของปราชญ์ป่านั้นเริ่มจากการหาจุดร่วม มีระเบียบเสมอกัน และใช้ประโยชน์ร่วมกัน คือ ส่งเสริมให้ได้รับประโยชน์อย่างยุติธรรมเสมอกัน เพื่อสร้างจิตสำนึกร่วมในการจัดการป่าชุมชนให้มีผลสมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรมก่อให้เกิดดุลยภาพแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของการจัดการป่าชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย