ชุมชนสันติสุขในพุทธศตวรรษที่ 26 : ถอดบทเรียนชุมชนสันติสุขในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางกระบวนการสร้างสันติภาพและพัฒนาชุมชนสันติสุขในพุทธศตวรรษที่ 26 โดยศึกษาถอดบทเรียนชุมชนต้นแบบ 3 แห่ง ได้แก่ ชุมชนแพรกหนามแดง ชุมชนหมู่บ้านท่าคอยนาง ชุมชนย่านกะดีจีน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนาม เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 30 คน และการสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม
การศึกษาถอดบทเรียนจากชุมชนทั้ง 3 ทำให้พบองค์ความรู้ 5 มิติสำคัญในกระบวนการสันติภาพและสันติสุขในชุมชน ได้แก่ มิติด้านกายภาพ มิติด้านสังคม มิติด้านจิตใจ มิติด้านปัญญา มิติด้านผู้นำ ที่นำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดชุมชนสันติสุขในพุทธศตวรรษที่ 26 ประกอบด้วย หลักการสำคัญ (Principle) คือ การใช้พลังอ่อนนุ่ม หรือ Soft power ที่มาจาก 2 ตัวประกอบสำคัญ ได้แก่ 1. ธรรมะ (Dhrama) คือ ความเชื่อความศรัทธาในศาสนาเป็นรากฐานนำพาให้เข้าถึงสันติสุข 2. อุดมการณ์และความเชื่อมั่นในกระบวนการสันติวิธี (Peaceful means) ทั้งสองหลักการนี้เป็นเบ้าหลอมของตัวบุคคล (People) ที่เป็นแกนกลางของการพัฒนาชุมขนสันติสุข ได้แก่ ผู้นำ (Leaders) สมาชิกชุมชน (Members) และเครือข่ายทางสังคม (Net work) ทำให้ได้ภาพสะท้อน (Reflection) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงการพัฒนาทางกายภาพ (Physical development) และ การพัฒนาคุณธรรมของการอยู่ร่วมกันในสังคม (Moral development) ผู้วิจัยนำเสนอเป็นองค์ความรู้ใหม่ เรียกว่า สมการสร้างชุมชนสันติสุขในพุทธศตวรรษที่ 26 คือ D&P (LINE) = 2 D
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร