อาหารพื้นบ้าน: กระบวนการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมในชุมชนภาคเหนือ

Main Article Content

Chaweewan Suwannapha
Onanong Woowong
Sermsin Suphametheesakul

บทคัดย่อ

อาหารพื้นบ้าน : กระบวนการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมในชุมชนภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ความรู้และคุณค่าของอาหารพื้นบ้าน เพื่อศึกษากระบวนการจัดการอาหารในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคม และเพื่อวิเคราะห์ระบบความสัมพันธ์และผลกระทบของอาหารพื้นบ้านที่มีต่อชุมชนในภาคเหนือ


พื้นที่ในการเก็บข้อมูล คือ จังหวัดเชียงรายและจังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย พระสงฆ์ นักวิชาการด้านอาหาร/ นักโภชนาการ นักวิชาการด้านสาธารณสุข นักวิชาการด้านวัฒนธรรม ตัวแทนชุมชนที่มีส่วนร่วมในการจัดการอาหารพื้นบ้าน  36 รูป/คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือแบบสัมภาษณ์  การจัดกลุ่มสนทนา และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย ศึกษาวิจัยในเชิงเอกสาร ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร วารสาร หนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รวมถึงข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต เช่น ข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซด์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดกลุ่มสนทนาและการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนาวิเคราะห์


พบว่า


  1. องค์ความรู้และคุณค่าของอาหารพื้นบ้านต่อการเสริมสร้างสุขภาวะของชุมชนในภาคเหนือ

เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าทางความสวยงาม รสชาติและเอกลักษณ์ความเป็นไทยคุณค่าทางโภชนาการ


ที่เหมาะสมเพราะตำรับอาหารประกอบไปด้วย คาโบร์ไฮเดรต โปรตีน วิตามิน ไขมัน เกลือแร่ น้ำ และพืชผักจากแหล่งธรรมชาติที่มีสรรพคุณทางยา  ดังนั้นหน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงความสำคัญและให้การสนับสนุนทั้งในด้านการเงินและด้านวิชาการ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และการจัดการเชิงวัฒนธรรมเพื่อให้อาหารพื้นบ้านมีความยั่งยืนอยู่คู่กับชุมชนต่อไป


  1. 2. กระบวนการจัดการอาหารในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมของชุมชนในภาคเหนือ กระบวนการผลิต กระบวนการทำอาหารในครอบครัว ชุมชนและกระบวนการเชิงชุมชน เริ่มจากครอบครัวมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประกอบอาหารรวมทั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ด้านประโยชน์และคุณค่า ทางโภชนาการของอาหารแต่ละชนิด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน และการพัฒนาอาหารพื้นบ้านแบบมีส่วนร่วม ที่สร้างความตระหนักให้ชุมชนเห็นความสำคัญของอาหารพื้นบ้านต่อสุขภาพ มีการส่งเสริมความมั่นคงทางชุมชน สังคมในการอยู่ร่วมกันในชุมชนการเกื้อกูลซึ่งกัน เป็น การสร้างสุขภาวะด้านโภชนาการของชุมชนทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์และสังคม เสริมสร้างความสามัคคี สร้างจริยธรรมในการอยู่ร่วมกัน เกิดชุมชนเข้มแข็งและได้ผสานแนวคิดใหม่ในการขับเคลื่อนเรื่องอาหารปลอดภัย ต้องปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำ (เกษตรกร/ผู้ผลิต) กลางน้ำ (ผู้แปรรูป/ผู้ขนส่ง/ผู้ขาย) และปลายน้ำ (ผู้บริโภค)

  2. ระบบความสัมพันธ์และผลกระทบของอาหารพื้นบ้านที่มีต่อชุมชนในภาคเหนือในการ

ส่งเสริมอาหารพื้นบ้านทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม มีการบูรณาการร่วมกัน มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการผลิตของแต่ละขั้นตอน และได้นำเอาความรู้ภูมิปัญญาที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม         ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการประกอบอาชีพ การอยู่ร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติตามศาสนา พิธีกรรมและประเพณี และภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษถ่ายทอดมา


 

Article Details

How to Cite
Suwannapha, C., Woowong, O., & Suphametheesakul, S. (2018). อาหารพื้นบ้าน: กระบวนการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมในชุมชนภาคเหนือ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(4), 1306–1319. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/108452
บท
บทความวิจัย