รูปแบบการเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีเพื่อพัฒนาชุมชนตามหลักพุทธธรรม

Main Article Content

Pratin Saengthai
Phra Rajapariyatkawi Somjin
Phramaha Pornchai Sirivaro

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีเพื่อพัฒนาชุมชนตามศาสตร์สมัยใหม่  2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีเพื่อพัฒนาชุมชน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีเพื่อพัฒนาชุมชนตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสาร การลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูป/คน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม


             ผลการวิจัย พบว่า การเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีตามแนวคิดศาสตร์สมัยใหม่ควรได้รับการส่งเสริมทั้งด้านครอบครัว, การศึกษา, เศรษฐกิจ, สังคม และการเมือง และหลักพุทธธรรมที่ช่วยเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรี ด้านครอบครัว คือ หลักพรหมวิหาร 4  หลักฆราวาสธรรม 4 และหลักทิศ 6 ด้านการศึกษา คือ หลักไตรสิกขา และหลักพาหุสัจจะ ด้านเศรษฐกิจ คือ หลักทิฏฐิธัมมิกัตถะ ด้านสังคม คือหลักสังคหวัตถุ 4 หลัก       สาราณียธรรม 6 และด้านการเมือง คือ หลักอปริหานิยธรรม และหลักอคติธรรม


             รูปแบบการเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีเพื่อพัฒนาชุมชนตามหลักพุทธธรรม พบรูปแบบที่เรียกว่า “LPD Model for Women” อันประกอบด้วย 1) Learning Step (ขั้นเรียนรู้) คือ การส่งเสริมโลกแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) Practice Step (ขั้นปฏิบัติ) คือ การส่งเสริมให้สตรีได้แสดงตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบาทหน้าที่ทั้งส่วนตัวและสังคม 3) Development Step (ขั้นพัฒนา) คือ การเสริมสร้างศักยภาพสตรีเพื่อให้มีพลังยิ่งขึ้นด้วยการใช้หลักพุทธธรรมมาเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตตนเองในทางที่ดีงามและนำพาชุมชนให้เจริญเข้มแข็งและยั่งยืน พัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง


 

Article Details

How to Cite
Saengthai, P., Somjin, P. R., & Sirivaro, P. P. (2018). รูปแบบการเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีเพื่อพัฒนาชุมชนตามหลักพุทธธรรม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(4), 1334–1346. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/108402
บท
บทความวิจัย