การศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ 3-Self ของตำรวจจราจรกลุ่มเสี่ยง
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ 3-Self, PROMISe Model, สยามหัวเราะ, ตำรวจจราจรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ 3-Self (การรับรู้ความสามารถตนเองในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ การกำกับตนเอง และการดูแลสุขภาพตนเอง) โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ทำการศึกษาองค์ประกอบของพฤติกรรมสุขภาพ 3-Self ของตำรวจจราจรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 350 นาย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ 3-Self แบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลององค์ประกอบมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาค่าดัชนีกลมกลืนดังนี้ = 647.67 (df= 325, p-value < .01), Relative
= 1.99, GFI = .91, AGFI = .90, RMR = .015; SRMR= .082 และ RMSEA = .048 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของแต่ละองค์ประกอบมีค่าเท่ากับ .95, .87 และ .59 ตามลำดับ ระยะที่ 2 ทดลองใช้โปรแกรมการหัวเราะบำบัดด้วยเทคนิคสยามหัวเราะร่วมกับการจัดกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพแบบ PROMISe Model (P = การเสริมแรงทางบวก, R = การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์, O= การมองโลกแง่ดี M = การสร้างแรงจูงใจ, I = การยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง และ Se = การเสริมคุณค่าในตนเอง) เพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพในตำรวจจราจรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 30 นาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย t-test dependent ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการหัวเราะบำบัดด้วยเทคนิคสยามหัวเราะร่วมกับการจัดกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพแบบ PROMISe Model คะแนนพฤติกรรมสุขภาพ 3-Self ของตำรวจจราจรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 30 นาย สูงกว่าก่อนการร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ ตัวชี้วัดทางเคมี ได้แก่ ค่า BMI และค่าความดันโลหิตบน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ค่าความดันโลหิตล่างลดลงไม่แตกต่างกัน
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก