การบริหารจัดการรถรับ-ส่งพนักงานด้วยสื่อสังคม: กรณีศึกษาพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค (บ้านหว้า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ภราดร คงมณี สาขาวิชา สื่อ ข้อมูล และ การสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร ประเทศไทย
  • วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ สาขาวิชาสื่อ ข้อมูลและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ฝ่ายบุคคล, การบริหารจัดการ, การสื่อสารอัจฉริยะ, การขนส่งอัจฉริยะ, สื่อสังคม

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหารูปแบบการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสื่อสังคม หรือ Social Media บนโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟนโดยการใช้โปรแกรมทดลอง “Where ever”เป็นเครื่องมือในการหาความสัมพันธ์ระหว่างการเดินทางของพนักงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้บริการรถรับส่งพนักงานที่โรงงานเป็นผู้จัด ในอันที่จะทำให้พนักงานสามารถติดตามการเดินทางของรถรับส่งและคาดการณ์เวลาที่รถจะมารับยังจุดนัดหมาย ทำให้พนักงานขึ้นรถได้ตามเวลาที่กำหนดโดยใช้เวลาในการรอรถน้อยที่สุด

          ผลจากการทดลองโดยใช้กลุ่มตัวอย่างของพนักงานที่ใช้บริการรถรับส่งเป็นประจำจำนวน 360 คน ตามทฤษฎีของ Taro Yamane พบว่าผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ว่าพนักงานสามารถใช้และเข้าถึงสื่อสังคมผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน มีความต้องการความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกด้านการให้บริการรถรับส่งที่ทันสมัย สามารถใช้การพัฒนารูปแบบการสื่อสารบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน ให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการใช้บริการรถรับส่ง เพื่อการเดินทางมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

Android Developers. (2018). Build for Android. https://developer.android.com

Dewing, M. (2012). Social media: An introduction. Library of Parliament.

Itika Josephat Stephen. (2011). Fundamentals of human resource management: Emerging experiences from Africa. https://openaccess.leidenuniv. nl/handle/1887/22381

Khongmanee, P., Pongsuwan, W., & Tanawastien, S. (2018). Smart bus drivers: Fleet management for smart workers. International Journal of Management, Business, and Economics, 5(1), 119-128.

MIT App Inventor. (n.d.). App Inventor 2.http://appinventor.mit.edu/explore/tutorial-version/app-inventor-2.html

Mohol, S., Pavanikar, A., & Dhage, G. (2014). GPS vehicle tracking system. International Journal of Emerging Engineering Research and Technology, 2(7), 71-75.

Schweiger, C. L. (2011). Traveling in real time: Mobility management and you. https://structurecms-staging-psyclone.netdnassl.com/client_assets/americanopportunity_com/media/attachments/5923/35ff/6970/2d01/62d0/0200/592335ff69702d0162d00200.pdf?1495479807

Wichitboonyarak, P. (2011). Social media: Future media. Journal of Management, 31(4), 99-103. [in Thai]

Wilson, N. H. M., Sussman, J. M., Wang, H. K., & Higonnet, B .T. (1971). Scheduling algorithms for a dial-a-ride System. Technical Report USL TR-70-13. Cambridge: M.I.T, Urban Systems Laboratory.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29

How to Cite

คงมณี ภ., & พงศ์สุวรรณ ว. (2020). การบริหารจัดการรถรับ-ส่งพนักงานด้วยสื่อสังคม: กรณีศึกษาพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค (บ้านหว้า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(1), 287–303. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/244557