ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีชีวิตชุมชนปากรอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม, วิถีชีวิต, ชุมชนปากรอบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชุมชนปากรอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จากการศึกษาข้อมูล ตำราเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจทางด้านมิติที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในชุมชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากการสำรวจ สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้นำชุมชน จำนวน 6 คน ชาวบ้านในชุมชนจำนวน 18 คน นักวิชาการ 2 คนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 2 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์แก่นสาร และใช้เทคนิคการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรคและโอกาส อีกทั้งวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ก่อนนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีชีวิตชุมชนปากรอ
ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนปากรอมีการดำรงอยู่ซึ่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีการประกอบอาชีพตามวิถีดั้งเดิม ทั้งทางด้านการทำประมงชายฝั่งลุ่มแม่น้ำทะเลสาบสงขลา การทำเกษตรกรรมนาข้าว ปลูกตาลโตนด และเลี้ยงสัตว์ ตามแต่สภาพพื้นที่ทางกายภาพที่มีความแตกต่างกันภายในชุมชน ส่งผลไปยังการมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ ประกอบด้วยวัดแหลมจาก ชุมชนวิถีชีวิตตาลโตนด ชุมชนวิถีชีวิตประมงชายฝั่ง ชุมชนวิถีชีวิตเกษตรกรรมทำนา กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนในชุมชน มีศักยภาพที่จะนำไปพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชุมชน ได้มีการสร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งได้นำเอาทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์และพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สอดคล้องไปกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน
References
Angkhawanit, S., & Nitniran, N. (2013). Sugar production from Palmyra Palm in Banlad District, Petchburi Province: Socio-cultural changes, adaptations to occupational. Ramkhamhaeng University Journal Humanities, 32(1),1-16.
Boonlert, C. (2014). Sustainable tourism development. Press and Design co.
Burns, P. (2003). Tourism planning, third way?. Annals of Tourism research, 30(1), 24-45.
Hall, C. (2007). Sustainable tourism development: Geographical perspectives. Addison Wesley Longman.
Klangsombat, N. (2011). A Model development for cultural tourism with community participation, Udon Thani Province. Doctoral Dissertation, Sports Science, Chulalongkorn University.
Klinmuenwai, K. (2018). Guidelines for support cultural tourism destination at Tha Ma-O Community Mueng Distric Lampang Province. Journal of Liberal Arts, Maejo University, 6(1), 131-148.
Mankatitham, W. (2011). Alternative: Homestay style reflective architectural identities of samutsongkharm Province, [Unpublished doctoral dissertation], Suan Sunandha Rajabhat University.
National Research and Innovations Strategy. (2018). National research and Innovations Strategies. https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=13
Phisit, C. (2007). Cultural resource management. Arts and Culture Review. Keynote speech Silpa Bhirasri. Silpakorn University
Phuwadon, N. (2008). Home stay tourism development for Nakhorn Chai Sri River Community [Unpublished doctoral dissertation], Thammasat University.
Rani, I. (2014). Niche tourism management ICHE TOURISM MANAGEMENT. Sukhothaithammathirat University Press.
Thanik, L. (2011). Culture resource management. Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre.
The Thailand Community Based Tourism Institute. (2018). Community based tourism: Be our guest. http://cbtnetwork.org/
UNWTO. (2010). Tourism and poverty alleviation recommendation for actions. http://www.e-unwto.org/doi/book/10.18111/9789284407019
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก