การเชื่อมโยงประเด็นที่ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ไม่มีทายาทสืบตระกูลกับ ทัศนคติว่าด้วยการนิยมบุตรชายของชาวตะวันออก
คำสำคัญ:
ทัศนคติของชาวตะวันออก, ประธานาธิบดีโฮจิมินห์, การนิยมบุตรชายบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงประเด็นที่ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ไม่มีทายาทสืบสายตระกูลกับทัศนคติว่าด้วยการนิยมบุตรชายของชาวตะวันออก ตลอดจนศึกษาหาสาเหตุของปรากฏการณ์ดังกล่าว โดยใช้วิธีวิจัยจากเอกสาร ผลการวิจัยทำให้ทราบว่า การให้กำเนิดทายาทเป็นหนึ่งในหน้าที่สำคัญของชาวเวียดนาม ดังนั้น เรื่องที่ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ฝ่าฝืนขนบประเพณีอันเก่าแก่นี้ ส่งผลให้ท่านต้องประสบปัญหาหลายอย่าง ทัศนคติว่าด้วยการนิยมบุตรชายของชาวเวียดนามสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้ระบุไว้ในพระคัมภีร์กับทั้งเทพปกรณัมของอินเดียหลายเรื่อง ได้แก่ พระคัมภีร์ “อุปนิษัท” “ภารตนิยาย” และ “กามนิต-วาสิฏฐี” รวมถึงวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงของประเทศจีนและไทย คือ “สามก๊ก” และ “หลายชีวิต” ส่วนสาเหตุที่ชาวตะวันออกนิยมบุตรนั้นเกิดจากสี่ประการ ประการที่หนึ่ง เพื่อสืบตระกูลมิให้ขาดสาย ยังผลให้ผู้บังเกิดเกล้าได้บรรลุอมตะภาวะทางกายภาพ ประการที่สอง เพื่อประกอบพิธีอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ เนื่องจากมีแต่บุรุษเพศเท่านั้นที่จะสามารถประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ฉันนี้ได้ ประการที่สาม เป็นไปตามกฎธรรมชาติเพราะทำให้เกิดความสมดุลในสังคม ถ้าแม้นว่า มีแต่การตายจากโดยที่ไม่มีการถือกำเนิดเกิดใหม่เพื่อทดแทนรุ่นก่อน ๆ สังคมมนุษย์ก็ย่อมถึงแก่การอวสาน และประการที่สี่ เป็นการสนองตอบความต้องการในการทำศึกสงครามที่บังเกิดขึ้นในสังคมตะวันออกแต่อดีตกาลจวบจนปัจจุบันกาล
References
Cambell, J., & Moyers, B. (2008). The power of myth (Boonsong. B, Trans.) (2nd ed.). Amarin Printing and Publishing. [in Thai].
Chanchaowat, S. & Thein, M. T. (2014). The worldviews of Myanmar from proverbs. Daongan Printing.
Duong, T. (2010). 108 daily stories of Uncle Ho. Dan Tri Publishing House.
Hang, T.T. (2015). An analysis of the folktale values for integrating in learning and teaching: A case study of the comparison between ‘Tam Cam’ and ‘Nang Uththra’. Lampang Rajabhat University. [in Thai].
Hang, T.T. (2016). The wedding. Lampang Rajabhat University Journal, 5(2), 211-234.
Jitprakong, P. (2010, July 29). Influence of Confucianism on pre colonialVietnam. http://www.thaiworld.org/th/thailand_monitor/answer.php?question_id=1162.
N.M.S. (2000). The tales of Vetala. Bangkok Book. [in Thai].
Plato. (2555). Symposium. (Attagara. K, Trans.). Amarin Printing and Publishing. [in Thai].
Praphananda, S., & Manchester, F. (2010). Upanishads (Attagara. K, Trans). Amarin Printing and Publishing. [in Thai].
Pramoj, K (M.R.). (2010). Lai Jivit. Dokya Printing. [in Thai].
Petrie, W. M. F. (2550). Egyptian tales. (Attagara. K, Trans.). Amarin Printing and Publishing. [in Thai].
Sathiankoset. (1988). Wedding traditions. MaeKamPhang. [in Thai].
Sathiankoset-Nakapratheep. (2008). Hitopadesa. Siam. [in Thai].
Sathiankoset-Nakapratheep. (2009). The Pilgrim Kamanita. Siam Printing. [in Thai].
Sieu, T. M. (2008). Relatives in Uncle Ho’s family. Nghe An Publishing House. [in Vietnamese].
Tangchonlatip, K. (2008). Gender imbalance in son preference countries. Population and Society. [in Thai].
Taylor, B. (2005). The romance of three kingdoms (Volume I). Silk Pagoda. [in English].
Thanh, S. (2010). Ho Chi Minh, Biography. National Political Publishing House. [in Vietnamese].
The Royal Institute of Thailand. (2013). Thai dictionary by the Royal Institute 2013. (2nd ed.). Nanmeebooks Publications. [in Thai].
Yaemnatda, S. (2547). Indian tales. Parbpim Printing. [in Thai].
Yogananda, P. (2011). Autobiography of a Yogi. Amarin Printing and Publishing. [in Thai].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก