ข้อทบทวนบางประการต่อค่านิยมการพึ่งพาตนเองในบริบทสังคมไทย ผ่านประสบการณ์ภาคสนามและการสะท้อนย้อนคิดของผู้เขียน

ผู้แต่ง

  • แทนพันธ์ เสนะพันธุ์ บัวใหม่ ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การปกครองชีวญาณ, การสถาปนาอำนาจนำ, การสะท้อนย้อนคิด, การพึ่งพาตนเอง, ค่านิยม

บทคัดย่อ

          การตรวจสอบค่านิยมการพึ่งพาตนเอง ในฐานะที่เป็นสามัญสำนึกของปัจเจกบุคคลในชุมชนสังคมไทย ตั้งต้นจากการทบทวนแนวความคิดเกี่ยวกับการพึ่งพา ซึ่งมีนักคิดมาร์กซิสม์ใหม่วิพากษ์ไว้ ข้อวิพากษ์ของพวกเขา คือปรปักษ์ของการพัฒนาบนฐานการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลักและโครงสร้างทุนนิยมโลก ดังนั้น จึงมีคุณูปการและเป็นอานิสงส์ต่อสังคมไทย ในแง่ที่ภายหลังได้ช่วยเปิดพื้นที่ ให้แนวทางการพัฒนาทางเลือก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนามนุษย์และชุมชนสังคมบนค่านิยมการพึ่งพาตนเอง ให้ได้มีที่มีทางขึ้นมา อาจกล่าวได้ว่า ช่วยเบิกทางต่อการปลูกฝังค่านิยมดังกล่าว ให้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะหลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ทั้งนี้ ค่านิยมการพึ่งพาตนเองถูกปลูกฝังให้เกิดขึ้นแก่ปัจเจกบุคคลในชุมชนสังคม ผ่านเทคนิคการสถาปนาอำนาจนำและการปกครองชีวญาณ จนกลายเป็นสามัญสำนึก มีผลให้ปัจจุบัน พวกเราตั้งคำถามและวิพากษ์ค่านิยมนี้กันน้อยมาก ที่น่าตกใจอย่างยิ่งคือ ค่านิยมนี้ได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางหลักเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ที่ผู้รักความก้าวหน้า ผู้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อชุมชนสังคมต้องการจะไปให้ถึง เสมือนว่าบุคคลเหล่านี้ถูกทำให้เชื่องและมีการรับรู้ที่ไม่เป็นกลางต่อค่านิยมดังกล่าว จนทำให้มองไม่เห็นข้อด้อยของมัน อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้หยิบยกกรณีตัวอย่างมาอธิบาย ทั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ปรากฏการณ์ที่ปัจเจกบุคคลและชุมชนสังคมเชื่องบนความไม่เชื่อง หรือหลอกว่าเชื่องนั้นมีอยู่ กรณีตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า การปรับเปลี่ยนค่านิยมการพึ่งพาตนเองมาสู่การพึ่งพากันอย่างชาญฉลาด อาจถือเป็นทางออกที่เหมาะสมกว่า ในเมื่อไม่มีใคร จะยืนหยัดอย่างทระนงอยู่ได้โดยปราศจากการพึ่งพาช่วยเหลือกัน จึงไม่มีเหตุผลใดเลย ที่จะต้องมุ่งส่งตนเองและชุมชนสังคมขึ้นหิ้งบูชา หรือเปี่ยมด้วยความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ และได้รับการสรรเสริญว่าเข้มแข็งจัดให้อยู่เหนือผู้อื่นทั้งปวง โดยประกันไว้ด้วยรางวัลต่างๆ เช่นนี้ ก็ไม่ต่างกับการทำให้ตนเองโดดเดี่ยว เพียงเพราะคนอื่นอาจมองว่าเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ และคงอาจไม่ต้องการความช่วยเหลือใด ๆ อีกแล้ว

References

Argyrou, V. (2005). The logic of environmentalism: Anthropology, ecology, and postcoloniality. Berghahn Books.

Berger, R. (2015). Now I see it, now i don’t: Researcher’s position and reflexivity in qualitative research. Qualitative Research, 15(2), 219-234.

Escobar, A. (1995). Encountering development: The making and unmaking of the third world. Princeton. Princeton University Press.

Fischer, K. (2016). Collective self-reliance: failed idea or still a valuable contribution worth considering?, in (Conflicting) Political Ontologies and Implications for Transformative Action, 27th of May 2016, Department of Sociology, University of Ljubljana.

Frank, A. G. (1967). Capitalism and underdevelopment in Latin America. Monthly Review.

Ferguson, J. (2014). The anti-politics machine: “Development,” depoliticization, and bureaucratic power in Lesotho. (10thed.). Cambridge University Press.

Galtung, J. (1980). Self-reliance: concept, practice and rationale. Institut Universitaire d'Etudes du Développement. Geneva.

Gardner, K., & Lewis, D. (1996). Anthropology, development and the post-modern challenge. Pluto Press.

Jitsanguan, T. (2006). The study on guidelines for the application of the sufficiency economy's philosophy: Lesson learned from 40 cases. A Research Report Submitted to Office of the National Economic and Social Development Board. [in Thai]

Lindgren, C. J., & Baliño T.J.T. (1999). Financial sector crisis and restructuring lesson from Asia. International Monetary Fund.

Mingnolo, W. D. (2007). Delinking. Cultural Studies, 21(2-3), 449-514.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2018). The national economic and social development plans. NESDPs 1st-12th. http://www.nesdb.go.th/main.php?filename=develop_issue

O’Dwyer, K. (2012). Emerson’s argument for self-reliance as a significant factor in a flourishing life. Journal of Philosophy of Life, 2(1), 102-110.

Pillow, W. (2003). Confession, catharsis, or cure? Rethinking the uses of reflexivity as methodological power in qualitative research. International Journal of Qualitative Studies in Education, 16(2), 175-196.

PhuangNgam, K. (2010). Community and local self governance. Bophit Press. [in Thai]

Smart, B. (1985). Michael Foucault. Ellis Horwood.

Srisan, S. (2014). Editorial acknowledgment. Journal of Graduate Volunteer Centre, 11(1), 1-3. [in Thai]

Thomas, J. (1993). Doing critical ethnography. Sage.

Villalba, U. (2013). Buen Vivir vs Development: A paradigm shift in the Andes?. Third World Quarterly, 34(8), 1427-1442.

Wallerstein, I. (1974). The modern world system: Capitalist agriculture and the origins of the European world economy in the sixteenth century. Academic Press.

Watene, K. (2016). Valuing nature: Māori philosophy and the capability approach. Oxford Development Studies, 44(3), 287-296.

Williams, R. (1977). Marxism and literature. Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29

How to Cite

บัวใหม่ แ. . เ. . (2020). ข้อทบทวนบางประการต่อค่านิยมการพึ่งพาตนเองในบริบทสังคมไทย ผ่านประสบการณ์ภาคสนามและการสะท้อนย้อนคิดของผู้เขียน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(1), 1–24. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/244483