การเปรียบเทียบคำยืมในภาษาไทใหญ่
คำสำคัญ:
การเปรียบเทียบ, คำยืม, ภาษาไทใหญ่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบคำยืมในภาษาไทใหญ่ ซึ่งได้แก่ คำยืมภาษาพม่า คำยืมภาษาบาลี-สันสกฤต และคำยืมภาษาอังกฤษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีการยืมคำ ลักษณะคำยืม และปัจจัยที่ทำให้เกิดการยืมคำ โดยได้เลือกศึกษาข้อมูลจาก Shan – English Dictionary, Picture Dictionary, พจนานุกรมไทใหญ่-ไทย และพจนานุกรมไทย-ไทใหญ่ ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า ทางด้านวิธีการยืมคำนั้นมีวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การยืมแบบทับศัพท์ ซึ่งพบในคำยืมภาษาพม่า ภาษาบาลี-สันสกฤต และภาษาอังกฤษ, การยืมแบบทับศัพท์แต่ใช้รูปแบบการเรียงคำตามหลักภาษาไทใหญ่ ซึ่งพบในคำยืมภาษาพม่า และภาษาอังกฤษ, การยืมคำผ่านภาษาพม่า ซึ่งพบในคำยืมภาษาบาลี-สันสกฤต, การแปลศัพท์คำยืม ซึ่งพบในคำยืมภาษาอังกฤษ, และการบัญญัติศัพท์ใหม่ ซึ่งพบในคำยืมภาษาอังกฤษ ทั้งนี้วิธีการยืมคำที่พบมากที่สุด คือ การยืมแบบทับศัพท์ ทางด้านลักษณะคำยืมจากข้อมูลพบว่า คำยืมทั้ง 3 ภาษามีลักษณะร่วมกัน คือ มีทั้งคำยืมที่เป็นคำเดี่ยว, คำยืมที่เป็นการประกอบคำระหว่างคำยืมภาษาเดียวกัน, คำยืมที่เป็นการประกอบคำระหว่างคำยืมกับภาษาไทใหญ่, และคำยืมที่เป็นการประกอบคำระหว่างคำยืมกับคำยืม ทั้งนี้ลักษณะคำยืมที่พบมากที่สุดในทั้ง 3 ภาษา คือ ลักษณะคำยืมที่เป็นคำเดี่ยว ทางด้านปัจจัยที่ทำให้เกิดคำยืม พบว่ามีปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง ซึ่งพบในคำยืมภาษาพม่า และภาษาอังกฤษ, ปัจจัยด้านศาสนาและความเชื่อ ซึ่งพบในคำยืมภาษาพม่า ภาษาบาลี-สันสกฤต และภาษาอังกฤษ, ปัจจัยด้านการศึกษาและวิชาการ ซึ่งพบในคำยืมภาษาพม่า ภาษาบาลี-สันสกฤต และภาษาอังกฤษ, ปัจจัยด้านความทันสมัยและเทคโนโลยี ซึ่งพบในคำยืมภาษาพม่า ภาษาบาลี-สันสกฤต และภาษาอังกฤษ, ปัจจัยด้านความใกล้ชิดทางสภาพแวดล้อม ซึ่งพบในคำยืมภาษาพม่า, และปัจจัยด้านการรับวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งพบในคำยืมภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้เกิดการยืมคำมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านศาสนาและความเชื่อ การศึกษาและวิชาการ และปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง ตามลำดับ
References
Chiang Mai Rajabhat University. (2009). Tai Yai (Shan)-Thai dictionary. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University. [in Thai]
Jantanakom, W. (1983). Characteristics of Tai Yai (Tai O) in Mae Sai District, Chiang Rai Province [Master’s dissertation, Silpakorn University]. Nakhon Pathom, Thailand. [in Thai]
Khanthaphad, P. (2016). Loanwords in Shan language: English. Journal of Humanities and Social Science, Burapha University, 24(45), 159-175. [in Thai]
Khanthaphad, P. (2017). Pali- Sanskrit borrowings in Shan language. Journal of Social Science Humanities and Arts, Silpakorn University, 37(2), 177-195. [in Thai]
Kingkham, W. (2013). Foreign languages in Thai (2nd ed.). Kasetsart University Press. [in Thai]
La-ongsri, K. (1985). Hometown of Thai. Art and Culture Publishing. [in Thai]
Office of the Royal Society. (2014). Linguistic words dictionary (Applied Linguistics) (2nd ed.). Office of the Royal Society. [in Thai]
Office of the Royal Society. (2011). Thai dictionary. Office of the Royal Society. [in Thai]
Pongpaiboon, S. (1988). The principal of Thai languages. Thai Watthanaphanit Publishing. [in Thai]
Saengponsit, W. (1981). Foreign languages in Thai. Bangkok: Odeon Store. [in Thai]
Santasombat, Y. (2000). Lak Chang: New creation of Tai identity in Dehong. Amarin Book Center. [in Thai]
Shan Buddhist Monks. (2514). Thai-Shan dictionary. Mahachulalongkorn rajavidyalaya University. [in Thai]
Sao Tern Moeng. (1995). Shan-English dictionary. DP Dunwoody Press.
Shan Culture and Education Central Committee (SCEC). (2002). Picture dictionary. NHEC.
Sirithon, P. (1985). Above region of Siam. Chang Peuak Publishing. [in Thai]
Terwiel, B.J., & Diller, A. (1990). Native Thais were not here. Muang Boran Publishing. [in Thai]
Wichasin, R. (2003). Knowing and reading Shan script. Department of Thai, Faculty of Humanity, Chiang Mai University, Thailand. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก