จริยธรรมการเผยแพร่ตีพิมพ์

วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นวารสารวิชาการที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรอง โดยผู้เชี่ยวชาญและ
เผยแพร่โดย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีการดำเนินการโดยยึดหลักจริยธรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการ
และผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเป็นอิสระทางวิชาการและความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติร่วมที่กำหนดโดยคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์(COPE: Committee on Publication Ethics) โดยเคร่งครัด ซึ่งรายละเอียดความรับผิดชอบหลัก ๆ ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพึงตระหนักในการเผยแพร่ต้นฉบับบทความในวารสารตามข้อปฏิบัติร่วมดังกล่าวในภาพรวม ดังนี้

ความรับผิดชอบของผู้เขียน

1. ผู้เขียน “Corresponding Author” (คือ ผู้แต่งที่ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานหลัก) ต้องยืนยันว่าไม่ได้ส่งต้นฉบับเพื่อพิจารณา
ตีพิมพ์ในวารสารอื่น หรือ การประชุมวิชาการใด ๆ ด้วย
2. ผู้เขียนต้องรับประกันว่า ต้นฉบับที่ส่งเป็นงานดั้งเดิม ไม่เคยผ่านการตีพิมพ์เผยแพร่จากที่อื่น หรือมีการเผยแพร่เองมาก่อน
3. งานวิจัยอื่น ๆ หรือ การเผยแพร่แหล่งข้อมูลอ้างอิงในต้นฉบับจำเป็นต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องทั้งนี้ ได้กำหนดรูปแบบการอ้างอิงตามแบบ the 7th edition of the APA Publication Manual (2019)
4. ผู้เขียนต้องรายงานข้อเท็จจริงที่มีการค้นพบในการศึกษาหรือการวิจัยโดยปราศจากอคติ ปราศจากข้อมูลที่ขัดแย้งกัน หรือ
การปลอมแปลงข้อมูล
5. การเป็นผู้นิพนธ์ จะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดที่ผู้เขียนเหล่านั้นมีส่วนร่วมในผลงานโดยมีนัยสำคัญ ทั้งการสร้างแนวคิดการออกแบบการดำเนินการ หรือ การตีความ ของต้นฉบับทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เขียนที่มีบทบาทสำคัญในผลงานควรได้รับการระบุว่าเป็นผู้เขียนร่วม
6. ผู้เขียนควรศึกษาคำแนะนำและข้อตกลงเกี่ยวกับนโยบายการใช้เครื่องมือ AI ของวารสารศิลปศาสตร์
7. ผู้เขียน “corresponding author” ต้องยืนยันว่าผู้เขียนร่วมทั้งหมดได้มีการตรวจสอบยืนยันต้นฉบับที่ส่งให้กับทางวารสารแล้ว
8. ผู้เขียนต้องอธิบายว่า มีวิธีการอย่างไรในการการปกป้องสิทธิ และ การรักษาความลับของผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาโดยผู้เขียนจำเป็นต้องแสดงหลักฐานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย
9. ผู้เขียนต้องเปิดเผยข้อมูลแหล่งทุนสนับสนุนเพื่อการศึกษา หรือ จัดทำต้นฉบับ และรับประกันว่าไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
10. ผู้เขียนต้องจัดรูปแบบต้นฉบับบทความให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่วารสารกำหนด และ ปฏิบัติตามกระบวนการนำส่งที่ได้อธิบายไว้
11. ผู้เขียนต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบถึงข้อผิดพลาดที่สำคัญในงานของตนเองทันทีที่ทราบข้อผิดพลาดดังกล่าวเพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้องหรือถอนต้นฉบับ
12. ผู้เขียนควรทราบว่า วารสารจะดำเนินการตามขั้นตอน ในกรณีที่พบว่าผู้เขียนประพฤติผิด เช่น การค้นพบการคัดลอก หรือ
ตรวจพบพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณการวิจัย โดยผู้เขียนต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการถอนบทความ หรือการแก้ไขข้อผิดพลาดในการพิมพ์

ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ

1. กองบรรณาธิการต้องประเมินต้นฉบับบทความวิจัย หรือต้นฉบับบทความปริทัศน์ด้วยความโปร่งใส โดยพิจารณาจากคุณภาพ
ของเนื้อหาเชิงวิชาการ และ ความเหมาะสมในการตีพิมพ์เผยแพร่ที่สอดคล้องกับขอบข่ายเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของวารสาร
2. กองบรรณาธิการต้องพิจารณาต้นฉบับที่ส่งมาอย่างรอบคอบ โดยใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม เพื่อตรวจสอบการคัดลอก
ผลงานทางวิชาการ
3. ในกระบวนการประเมินแบบปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย บรรณาธิการมอบหมายให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านพิจารณา
ต้นฉบับ การมอบหมายดังกล่าวขึ้นอยู่กับสาขาความเชี่ยวชาญของผู้ทรงคุณวุฒิและปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน
4. กองบรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เขียนหรือผู้ทรงคุณวุฒิ และ/หรือ เนื้อหาต้นฉบับในทุกขั้นตอนของ
กระบวนการประเมิน
5. กองบรรณาธิการควรให้ข้อเสนอแนะ และข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับความคืบหน้าในกระบวนการประเมินแก่ผู้เขียนอย่าง
ครอบคลุมและทันท่วงที (corresponding author)
6. กองบรรณาธิการต้องเผยแพร่ต้นฉบับที่ตรวจสอบแล้วว่าผู้เขียนได้มีการแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิและ/หรือ
กองบรรณาธิการ
7. บรรณาธิการควรมีความพยายามในการคงมาตรฐานสูงสุดและปรับปรุงคุณภาพของวารสาร
8. ในกรณีที่จำเป็น กองบรรณาธิการต้องเปิดเผยการตรวจแก้ไข การชี้แจง และการถอนต้นฉบับ
9. กองบรรณาธิการต้องให้โอกาสผู้เขียน “corresponding authors” ในการร้องเรียน ตัดสินใจด้วยตัวเอง และ
ปฏิบัติต่อคำร้องเรียนดังกล่าวของผู้เขียนด้วยความเป็นธรรมสอดคล้องแนวทางของ COPE

ความรับผิดชอบของผู้ทรงคุณวุฒิ

1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรักษาความลับของข้อมูลทั้งหมดที่ส่งเข้ากระบวนการประเมิน
2. ผู้ทรงคุณวุฒิควรให้ข้อเสนอแนะอย่างรวดเร็วและตรงเวลาตามที่ตกลงไว้กับกองบรรณาธิการ
3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องประเมินต้นฉบับด้วยความเที่ยงตรงปราศจากอคติความลำเอียง หากพบว่าเนื้อหาในต้นฉบับเบี่ยงเบน
ออกจากขอบเขตความเชี่ยวชาญ ต้องแจ้งบรรณาธิการและส่งต้นฉบับกลับคืน เพื่อทำการมอบหมายผู้ประเมินใหม่อีกครั้ง
4. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งกองบรรณาธิการรับทราบ หากพบประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ ที่สัมพันธ์กับต้นฉบับ หรือผู้เขียนต้นฉบับ และควรมีการชี้แจงผลการตัดสินใจในการพิจาราณาต้นฉบับอย่างชัดเจน และ ควรให้ข้อเสนอแนะแก่กองบรรณาธิการ
ในการปรับปรุงต้นฉบับต่อไป