การออกแบบการเรียนการสอนภาษาฐานสมรรถนะด้วยวัฒนธรรมไทยสำหรับผู้สอนภาษาจีนในประเทศไทยการออกแบบการเรียนการสอนภาษาฐานสมรรถนะด้วยวัฒนธรรมไทยสำหรับผู้สอนภาษาจีนในประเทศไทย
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlapsu.2024.15คำสำคัญ:
การสอนภาษาฐานสมรรถนะ , ครูผู้สอนภาษาจีน , วัฒนธรรมไทยบทคัดย่อ
บทความนี้ได้สำรวจวิธีการที่นักศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตรการสอนภาษาใช้เพื่อพัฒนาความสามารถของการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมผ่านการสอนภาษาจีนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ ความสามารถของการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในการศึกษาครั้งนี้มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ความรู้ทางวัฒนธรรมสำหรับบริบทท้องถิ่นและระดับโลก 2) ทักษะการประยุกต์ใช้จริงในการสอน และ 3) ทัศนคติที่มีคุณค่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองทางวัฒนธรรมไทยสำหรับครูภาษาจีน การสอนภาษาฐานสมรรถนะมุ่งเน้นให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความสามารถทางภาษาผ่านการออกแบบการฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนและบูรณาการความสามารถทางวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เข้ากับการสอนภาษาจีนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษานี้สำรวจวิธีที่นิสิตฝึกสอนภาษาจีน จำนวน 7 คน ใช้ในการออกแบบและฝึกปฏิบัติการสอนวัฒนธรรมไทยด้วยการสอนภาษาฐานสมรรถนะในการสอนแบบจุลภาค (microteaching) จำนวน 2 ครั้ง ที่โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากแบบประเมินแผนการสอน แบบประเมินการสอน แบบฟอร์มการนิเทศของมหาวิทยาลัย และแบบประเมินความพึงพอใจในการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาฐานสมรรถนะ ถูกนำมาวิเคราะห์เชิงปริมาณ รวมถึงการคำนวณค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แสดงให้เห็นถึงการสอดคล้องอย่างดีกับหลักการของการสอนภาษาฐานสมรรถนะ (CBLT) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบประเมินแผนการสอน แบบประเมินการสอนภาษาจีน และแบบประเมินการนิเทศการสอน พบว่าการพัฒนาการสอนวัฒนธรรมไทยสำหรับนิสิตฝึกสอนภาษาจีนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมที่ 4.14 บ่งชี้ว่าแผนการสอนมีการออกแบบและดำเนินการอย่างดี ผลประเมินการปฏิบัติการสอนวัฒนธรรมไทยสำหรับนิสิตฝึกสอนภาษาจีน มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมที่ 4.09 บ่งชี้ว่าความสามารถในการสอนภาษาจีนมีพัฒนาการที่ดีและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความพึงพอใจของนิสิตฝึกสอนภาษาฐานสมรรถนะด้วยวัฒนธรรมไทยจากแบบประเมินความพึงพอใจในการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาฐานสมรรถนะ มีคะแนนรวมที่ 4.40 บ่งชี้ว่ารูปแบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนิสิตฝึกสอนสอดคล้องกับหลักการของการศึกษาฐานสมรรถนะ
References
Boukhentache, S. (2020). Teaching language skills in competency-based approach: Practical guidelines. Altralang Journal, 2(2), 103-117. https://www.asjp.cerist.dz/en/downArticle/597/2/2/139886
Dechakupt, P. (2022). Thaksa 7C khong khru 4.0. (in Thai) [7C skills for teachers] (5th ed). Chulalongkorn University Press.
Ellis, R. (2003). Task-based language learning and teaching. Oxford University Press.
Hao, T. C. (2022). Integrating culture in foreign language teaching: Case of teaching Vietnamese for foreigners in Vietnam. Journal of Educational and Social Research. 12(4), 174-188. https://doi.org/10.36941/jesr-2022-0105
Khaled, J. (2022). Approaches and methods in language teaching and learning over time. Language and Literacy, 24(3), 88-106. https://doi.org/10.20360/langandlit29595
Khammanee, T. (2019). Sat kan son: ongkhwamru phuea kan chat krabuankanrianru thi miprasitthiphap. (in Thai) [The science of teaching: Knowledge for effective learning process management] (23rd ed). Chulalongkorn University Press.
Leber, J., Renkl, A., Nückles, M., & Wäschle, K. (2017). When the type of assessment counteracts teaching for understanding. Learning: Research and Practice, 4(2), 161–179. https://doi.org/10.1080/23735082.2017.1285422
Nunan, D. (1991). Language teaching methodology: A textbook for teacher. Prentice Hall.
Office of the Education Council., Thailand. (2019). Guidelines for developing student competencies in basic education. OEC. http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1686-file.pdf.
Ramesh, R., Subi, M. S., & Jose, A. (2023). Role of competency based language teaching (Cblt) in English language teaching (Elt) at the under graduate level. Journal of Namibian Studies. https://namibian-studies.com/index.php/JNS/article/download/5523/3818/11222
Reese, H. W. (2011). The learning-by-doing principle. Behavioral Development Bulletin, 17(1), 1-19. https://doi.org/10.1037/h0100597
Richards, J. C., & Rodgers, T. S. (2014). Approaches and methods in language teaching. (3rd ed). Cambridge University Press. https://doi.org/10.1017/9781009024532
Sampaotong, P. (2022). Teaching Thai in a multicultural setting: A case of Thai language and culture courses in international schools. Wiwitwannasan Journal of Language and Culture, 6(1), 157–176. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/251512
Schneck, E. A. (1978). A guide to identifying high school graduation competencies. Northwest Regional Educational Laboratory.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Apisara Pornrattananukul

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก