การจัดการวัฒนธรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่นของเมืองรองภายใต้โครงการ The LINK
คำสำคัญ:
การจัดการวัฒนธรรม, ประสบการณ์ท้องถิ่น, การท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การศึกษาการจัดการวัฒนธรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่นของเมืองรอง ภายใต้โครงการ The LINK ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม ผู้นำท้องถิ่น ปราชญ์ท้องถิ่น ชาวบ้าน ผู้ประกอบการ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในพื้นที่ 10 จังหวัด ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้จัดการวัฒนธรรม ได้แก่ ชุมชนซึ่งเป็นลักษณะกลุ่มอาชีพในชุมชน ทำร่วมกับคนในท้องถิ่น และผู้ประกอบการซึ่งเป็นคนนอกท้องถิ่น 2) การจัดการกิจกรรมเพื่อเข้าถึงประสบการณ์ท้องถิ่น ได้แก่ กิจกรรมเดินชมวิถีชีวิตท้องถิ่น พักโฮมสเตย์ (home stay) กิจกรรมงานหัตถกรรม ทำอาหารท้องถิ่น กิจกรรมชมสถานที่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นต้น 3) การจัดการรวบรวมองค์ความรู้วัฒนธรรม ด้วยการรับการถ่ายทอดจากครอบครัว บรรพบุรุษ ครูพักลักจำ การเรียนรู้ด้วยตนเอง 4) การจัดการถ่ายทอดวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ด้วยการบรรยาย สาธิต การให้ลงมือทำ การให้ลองชิม การเรียนรู้ด้วยตนเอง 5) การจัดการถ่ายทอดวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม ด้วยการบอกเล่าความเชื่อเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ ศาสนา ภูมิปัญญา และจิตวิญญาณชุมชน 6) การจัดการวัฒนธรรมให้คงอยู่ ด้วยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การสร้างความภาคภูมิใจและตระหนักอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น การประสานการทำงานระหว่างช่วงวัยในชุมชนเพื่อการถ่ายทอดวัฒนธรรม 7) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการวัฒนธรรม ผู้จัดการวัฒนธรรม ขาดความรู้ความเข้าใจการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่นและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศได้ด้วยตนเอง วิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมไม่แยกแยะรูปแบบตามลักษณะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน 8) แนวทางการจัดการวัฒนธรรม ประสานการทำงานให้มัคคุเทศก์เอกชนหรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่นช่วยทำหน้าที่แปลภาษา และพัฒนาทักษะการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้จัดการวัฒนธรรม และจัดระบบการจัดการถ่ายทอดวัฒนธรรมให้เหมาะสมกับกลุ่มนักท่องเที่ยว เช่น กลุ่มนักท่องเที่ยวเฉพาะ และนักท่องเที่ยวทั่วไป
References
Chainok, P. (2010). Alternative: Guidelines for the development of culture tourism-a case study of Ban Dansal Dansai District Loei Province [Unpublished master’s thesis]. Loei Rajabhat University. [in Thai]
Chaipiboon, S. (2007). Cultural tourism management. A case study of tourism potential of Nakornchum Community, Amphoe Muang, Kamphaeng Phet Province. Kamphaeng Phet Rajabhat University. [in Thai]
Chaiyachen, J., Unaromlert, T. and Paiwithayasiritham, C. (2017). The application of social capital development model to promote creative tourism industry of Klong Roi Sai. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 2039-2055. [in Thai]
Chongsuanaoy, M. (2009). Hotel’s public relations strategy for cultural tourism management [Unpublished master’s thesis]. Chulalongkorn University, Bangkok. [in Thai]
Chusit, W. (2008). Enculturation of ancestral spirit worship of Mon (Raman): case study of Mon Ban-Khongkhanuea Community Moo 3, Khlong Ta Khot Sub-district, Photharam District, Ratchaburi Province. [Unpublished master’s thesis]. Thammasat University, Bangkok. [in Thai]
Dumrikol, S. (2016). Arts and culture management. Chiang Mai University: interdisciplinary of Arts and Culture Management, Graduate School. [in Thai]
Eamlaorpakdee, P. (2005). Experiential marketing: Customer experience. University of the Thai Chamber of Commerce Journal, 25(2), 19-28. [in Thai]
Eawsriwong, N. (2014). Asean loincloth, Sinhs, underwear and etc. (2nd ed.). Mathichon Publishing. [in Thai]
Jayawan, W. (2006). Status of Environment and Culture influenced on promoting cultural tourism: A case study of Pom Mahakan Community, Bangkok. [Unpublished master’s thesis]. Mahidol University, Nakhon Pathom. [in Thai]
Jittangwattana, B. (2013). Tourism industry. (2nd ed.). Thammasat University Book Store. [in Thai]
Kaewhawong, T. (2005). Society strengthening process, community, civil society. (8th ed.). Klungnana Vitthaya Press. [in Thai]
Kaewthep, K. (1995). Development approaches for communities’ culture. Caritas Thailand. [in Thai]
Kaewthep, K. (2014). Story of communication. Parbpim Design & Printing. [in Thai]
Keyuraphan, L., Bookoum, W., & Narin, S. (2016). A development model of Thai Phuan Community’s tourism activity management to promote creative learning in Nakhon Nayok. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 2190-2201. [in Thai]
Kongsawad, J. (2007). A study of promoting approach for cultural tourism. a case study of Authong Ancient City, Suphanburi Province [Unpublished master’s thesis]. Silpakorn University, Nakhon Pathom. [in Thai]
Piamdontree, A. (2014). The use of literature Khunchang Khunphaen for promoting cultural tourism in Suphanburi Province [Unpublished master’s thesis]. Chulalongkorn University, Bangkok. [in Thai]
Pongpis, S. (2007). Thinking method, method: Economic plan of community. (5th ed.). Charoenvit Publishing. [in Thai]
Punkaew, P. (2014). Expectation and satisfaction of Thai tourists towards cultural tourism: A case study of tourist tram managed by Municipality Office of Nan [Unpublished master’s thesis]. Chulalongkorn University, Bangkok. [in Thai]
Sakunapat, P. (2003). Folk culture and Thai tradition. Wisdom Publishing. [in Thai]
Singharungrueng, P. (2010). A study of cultural recreation activity of Phu Thai Tribe for promoting tourism. Chulalongkorn University, Bangkok. [in Thai]
Wanlayangkul, P. (2003). Thai arts and culture. PNK Publishing. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก