การศึกษาการพัฒนาหลักสูตรภาษาจีนตามแนวทาง Outcome-Based Education (OBE) กรณีศึกษาหลักสูตรภาษาจีนเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
หลักสูตรภาษาจีน, OBE (Outcome-Based Education), ธุรกิจบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาหลักสูตรภาษาจีนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของผู้เรียน ผู้ประกอบการ ท้องถิ่นและสังคมตามแนวทาง OBE (Outcome-Based Education) โดยเก็บข้อมูลจาก 1) แบบสอบถามจากผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด จำนวน 527 ฉบับ 2) แบบสอบถามสมรรถนะของบัณฑิตจากผู้ประกอบการด้านต่าง ๆ ในเขตภาคใต้ จำนวน 112 ฉบับ และ 3) การจัดประชุมเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรภาษาจีนโดยมีผู้แทนฝ่ายวิชาการและฝ่ายผู้ประกอบการร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวน 8 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรภาษาจีนควรเป็นหลักสูตรบูรณาการศาสตร์ระหว่างภาษาจีนกับธุรกิจ 2) โครงสร้างของหลักสูตรเป็นลักษณะ 3 + 1 กล่าวคือผู้เรียนศึกษาในประเทศไทย 3 ปีและในประเทศจีน 1 ปี 3) หลักสูตรต้องพัฒนาขึ้นตามแนวทาง OBE และจัดการเรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในรายวิชาทั้งหมดของหลักสูตรรวมทั้งจัดการศึกษาเชิงบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของหน่วยกิตในหมวดรายวิชาเฉพาะ และ 4) ระดับความรู้ภาษาจีนของบัณฑิตก่อนจบการศึกษาต้องไม่น้อยกว่าการสอบวัดระดับภาษาจีน HSK ระดับ 4 และจัดโครงการสนับสนุนส่งเสริมให้บัณฑิตมีความเป็นเลิศด้านภาษาจีนในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
References
Curriculum Design as the OBE (Outcome-Based Education), n.d.
Kaewbut, P. (2019). Needs assessment In Chinese skills development Case Study: Phuket International Airport Officials. Journal of International studies, Prince of Songkla University, 9(2), 46-64. [in Thai]
Kaewbut, P. (2020). Chinese Readiness of the International Surat Thani Airport with Mice City: The Study of Landscape Linguistic. Journal of Humanities Naresuan University. 17(1), 89-104. [in Thai]
Kaewbut, P. (2020). Students' Attention to the Additional Activities Outside the Chinese Class: Case Study of Students that Study Chinese Prince of Songkla University, Surat Thani Campus. Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences). 12(23), 27-38. [in Thai]
Suwimon, W. (1999). A synthesis of needs assessment techniques used in students' theses of faculty of Education, Chulalongkorn University (Research report). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Suwimon, W. (2007). Needs Assessment Research. Bangkok: Chulalongkorn University.
Yurarach, S. (2011). The Approach of The Synthesis of Needs Assessment Works. Journal of Education Naresuan University. 13(2), 33. [in Thai]
Zhao, S. (2015). Language and Country. Beijing: The Commercial Press. [In Chinese]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก