การฟื้นฟูวัฒนธรรมดนตรีในภาวะวิกฤตของกลุ่มชาติพันธุ์มอแกนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • Rewadee Ungpho ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ประเทศไทย
  • Nantida Chandransu ดร, หลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย

คำสำคัญ:

มอแกน, วัฒนธรรมดนตรีมอแกน, การฟื้นฟูวัฒนธรรม, กระบวนการมีส่วนร่วมของเยาวชนและชุมชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดความรู้วัฒนธรรมดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์มอแกนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา และสร้างความตระหนักในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมดนตรีกับเยาวชนมอแกน และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคเครือข่ายในการฟื้นฟู อนุรักษ์ และต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมดนตรีมอแกนอย่างยั่งยืน โดยผสมผสานวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาดนตรี ได้แก่ การเก็บข้อมูลวัฒนธรรมดนตรี การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 คน ควบคู่การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างนักวิจัย ชาวมอแกน เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร และภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมฟื้นฟูวัฒนธรรมดนตรีในภาวะวิกฤต ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ชุดความรู้วัฒนธรรมดนตรีมอแกนเพื่อการฟื้นฟู ได้แก่ ชุดความรู้วัฒนธรรมดนตรีมอแกนและชุดความรู้ด้านเครื่องดนตรีก่าติ้ง นอกจากนี้ยังเกิดเยาวชนนักดนตรีมอแกนรุ่นใหม่จำนวน 9 คน 2) แนวทางและวิธีการดำเนินงานเพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ได้แก่ 1) การค้นหาตัวแทนชุมชนและภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกระบวนการฟื้นฟู 2) การกำหนดเป้าหมายการมีส่วนร่วมและบทบาทผู้เข้าร่วม 3) การศึกษาผลสะท้อนกลับและการทบทวนหลังปฏิบัติงาน และ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลของกระบวนการฟื้นฟูและสืบทอดดนตรีมอแกนกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลกลุ่มอื่น ๆ ข้อเสนอแนะด้านการฟื้นฟูวัฒนธรรมดนตรี ควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของเยาวชนเพราะเป็นบุคคลสำคัญในการสืบสานวัฒนธรรมต่อไป ควรพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมดนตรีของชาวมอแกนอย่างยั่งยืนทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับนโยบาย 

References

Arunothai, N., Na Pomphet, P., Thaewchaturat Father, A., and Banthaothuk. C. (2006). Way of life of the Moken. Bangkok: Andaman pilot project, Social Research Institute, Chulalongkorn University. [in Thai]

Craft, G. (2007). Participatory Action Research: Involving "All the Players" in Evaluation and Change. Retrieved January 28, 2019, from http://www.grantcraft.org/guides/participatory-action-research.

Hart, R. (1992). Children’s participation: From tokenism to citizenship, Innocenti Essays No. 4, Florence: UNICEF.

Srisuksai, Y. (2002). Socio-economic and cultural changes: A case study of Sanga-Ou Sea Gypsies at Ko Lanta, Krabi Province.Thesis: Chulalongkorn University. [in Thai]

Tansupol, A. (2016). Cultural ecology: The Key to sustainable development. Journal of Humanities and Social Sciences, 12(1), 211.

Tepthai, K. and Yama-chiaw, W. (1985). Chow-lea. Rusamilae Journal, 8 (2), 54-63. [in Thai]

Ungpho, R. (2015). Sea Gypsies Ceremony Music in Andaman Coast of Upper Southern Thailand. Bangkok: The Thailand Research Fund. Ungpho, R. and Chandrausu, N. (2018, July 23-24). Lost in spirituality: Participatory methods for engaging local children in the revival of Sea Gypsy Song. In Sumittra Suraratdecha (Chair), Third International Conference on Documentary Linguistics-Asian Perspectives. Organized by Research Institute for Languages and Cultures of Asia (RILCA).

Ungpho, R. and Chandransu, N. (2019). Moken and the revival: Music learning management for sustainable preservation of the community’s cultural heritage. Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai]

Wilcox, D. (1999). A to Z of Participation. Joseph Rowntree Foundation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

How to Cite

Ungpho, R., & Chandransu, N. (2019). การฟื้นฟูวัฒนธรรมดนตรีในภาวะวิกฤตของกลุ่มชาติพันธุ์มอแกนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 11(2), 199–222. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/232777