การปรับตัวในการทำประมงภายหลังการออกพระราชกำหนดเรือประมง 2558: กรณีศึกษาตำบลปากน้ำชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • Aonjira Sa-nguanchat
  • Malee Sabaiying

คำสำคัญ:

การปรับตัว, เจ้าของเรือประมง, แรงงานประมง

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวในการทำประมงภายหลัง
การออกพระราชกำหนดเรือประมง 2558 ต่อเจ้าของเรือประมงและแรงงานประมงที่ตำบลปากน้ำชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมกับเจ้าของเรือประมงประเภทเรืออวนล้อม (อวนดำ) ขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสขึ้นไป และประกอบอาชีพเรือประมงมาแล้ว 3 ปีขึ้นไปจำนวน 4 คน แรงงานประมงไทยและต่างด้าวรวม 5 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

          ผลการศึกษาพบว่า การปรับตัวแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้  1) ด้านร่างกาย ได้แก่ เจ้าของเรือประมงต้องเตรียมอุปกรณ์สุขอนามัยและความปลอดภัยบนเรือ
ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม การกำหนดจำนวนวันออกเรือ เวลาพักของแรงงานทำให้เวลาในการทำงานลดลง แต่มีผลดีต่อแรงงานประมงคือมีเวลาพักมากขึ้น  2) ด้านจิตใจ ได้แก่ เจ้าของเรือลดความคาดหวังต่อรายได้ที่น้อยลง ความท้อแท้ ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในอาชีพ แต่มีผลดีต่อแรงงานคือมีกฎหมายคุ้มครองแรงงานทำให้แรงงานรู้สึกปลอดภัยในชีวิตมากขึ้น 3) ด้านบทบาทและหน้าที่ ได้แก่ เจ้าของเรือประมงต้องมีหน้าที่เป็นผู้ปกครองดูแลทุกคนบนเรือและต้องทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการวางแผนการทำงาน ส่วนแรงงานประมงทำได้หลากหลายหน้าที่ตามคำสั่งของหัวหน้า 4) ด้านการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ได้แก่ ทำให้เจ้าของเรือและแรงงานมีการช่วยเหลือ เกื้อกูล พูดคุย และดูแลกันเสมือนคนในครอบครัวซึ่งเป็นผลดีต่อการทำงานและการอยู่ร่วมกันบนเรือ

References

Chumphon Marine Fisheries Office. (2015, December 5). Statistics of fishing boats. Retrieved from https://www.fisheries.go.th. [in Thai]

National Council for Peace and Order. (2015, December 5). Illegal, unreported and unregulated fishing: IUU fishing 10/2558. https://www.ratchakitcha.soc.go.th. [in Thai]

National Security Agency. (2016, November 16). Marine knowledge hub. https://www.mkh.in.th. [in Thai]

Paknam Chumphon Municipality. (2016, November 16). Sea and culture. https://www.paknumchumphon.go.th. [in Thai]

Pasook. (1987). Sea fishing in Thai waters. (2nd ed.). Bangkok: Southeast Asian Fisheries Development Center Press. 324-332. [in Thai]

Phetkeaow. (2006). Ethnic Mons migrant worker's life adaptation: A case study of workers in rubber tree farming in Surathani Province. Master Thesis in Sociology and Anthropology Sociology. Thammasat University. [in Thai]

Phoca. (2007). Adjustment social support and quality of life of migrant workers at Bo Phloi District, Kanchanaburi Province. Master’s thesis in Science (Social Psychology), Faculty of Social Sciences. Kasetsart University. Bangkok. [in Thai]

Praditsil, (2016). Impact and legal resolution measures concerning Cambodian immigrant workers of Chanthaburi Province: A comparative study of legal measures between pre and post promulgation of National Council for Pace and Order Policy, Research Methodology & Cognitive Science. 14(1), 132. [in Thai]

Yeera. (2009). Social adjustment of Burmese laborers in Kho Kred, Nontaburi Province. Master’s thesis, Social Development College Chandrakasem Rajabhat University, Bangkok. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

How to Cite

Sa-nguanchat, A., & Sabaiying, M. (2019). การปรับตัวในการทำประมงภายหลังการออกพระราชกำหนดเรือประมง 2558: กรณีศึกษาตำบลปากน้ำชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 11(1), 204–227. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/199922