การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ กับความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ประเทศไทย
คำสำคัญ:
ศักยภาพ, การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์, ความตั้งใจเชิงพฤติกรรมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และระดับความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ประเทศไทย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์กับความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ประเทศไทยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย แบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่ ศักยภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และความตั้งใจเชิงพฤติกรรม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .797 มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า มี 5 ระดับ เรียงจากน้อยไปหามาก มีกลุ่มตัวอย่างเป็นชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง เมื่อรวบรวมข้อมูลแล้วผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 374 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 93.50 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อศึกษาระดับของตัวแปร และสถิติเชิงอ้างอิงวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ผลการวิจัย พบว่า ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของประเทศไทยในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับสูงมากกับความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ มี 3 ตัวแปร ได้แก่ 1) คุณภาพบริการทางการแพทย์ 2) ทรัพยากรมนุษย์เพื่อการบริการ และ 3) ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับสูงกับความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ มี 4 ตัวแปร ได้แก่ 1) โครงสร้างพื้นฐาน และการสื่อสาร 2) การขนส่ง 3) ราคา และ 4) ความปลอดภัย และระบบการรักษาความปลอดภัย และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับปานกลางกับความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ มี 1 ตัวแปร คือ การส่งเสริม และสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ โดยทุกตัวแปรมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
Heung, V. C. S., Kucukusta, D. and Song, H. (2010). A conceptual model of medical tourism: Implication for future research. Journal of Travel and Tourism Marketing. 27(3), 236-251.
JCI. (2015). JCI-accredited organizations. Retrieved from: www.jointcom
missioninternational.org/about-jci/jci-accreditedorganizations/?c=
Thailand&F_All=y.
Kasikorn Research Center. (2012). Health tourism business, Thailand opportunity in penetrating ASEAN market. Retrieved from: www.ksmecare.com/Article/82/28465. [In Thai]
. (2016). Thailand foreign tourism market in 2016 is still growing and emphasizing quality markets for marketing sustainable income. Retrieved from: www.thaichamber.org/userfiles/file/kbank(6).pdf. [In Thai]
Kantawongwan, K., Untong, A., & Khosat, M. (2016). Competitive abilities of Thailand health tourism industry. Social Research Institute. Chiang Mai University, Chiang Mai. [In Thai]
Khoonthong, L. (2007). An approach of planning for medical tourism development in Phuket Province. (Master’s thesis). Graduate School, Srinakharinwirot University, Bangkok. [In Thai]
Kotler, P. (2004). Thailand’s nation branding: A study of Thai nation-brand equity and capabilities. Retrieved from: www.diva- portal.org/smash/get/ diva2:126597/FULLTEXT01.pdf.
Office of the Public Sector Development Commission. (2015). Ministry of Public Health and Ministry of and Sports develop and support Thailand to the center of Health Tourism. Retrieved from: http://203.157.7.46/display_ news.jsp?id=N00000002484. [In Thai]
Phisayaboot, S. (2007). Developing research instruments and evaluating questionnaire. Bangkok: Vittayapat. [In Thai]
Sahamathapat, N. (2013). International health tourism hub. Retrieved from: www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/Executive_Meeting/Meeting256
/3g_medicalhub.pdf. [In Thai]
Siriphattrasophon, S., & Thanaphikhuptanon, P. (2011). Relationship between perceived service quality, patient satisfaction and loyalty: A case of private hospital in Bangkok. Khon Kaen University Research Journal, 10(2), 160-172. [In Thai]
Skyscanner (Thailand). (2015). Thailand was ranked 1 of 10 destinations with highest increase in number of searchers. Retrieved from www.skyscanner.co.th. [In Thai]
Songsraboon, R. (2014). Perceived service quality and factors affecting word of mouth communication of private hospitals. Panyapiwat Journal, 5(2), 16-29. [In Thai]
Srisukho, C. (2012). Medical tourism industry. Department of Industrial Promotion Journal, 54(1), 32-33. [In Thai]
Sukho, N. (2015). The market analysis of medical tourism in Thailand. Suthiparithat Journal, 29(89), 1-15. [In Thai]
Supasririkijjarean, J. (2015). The behavior in medical service of foreign patients. Siam Academic Review, 16(1), 31-48. [In Thai]
Thansettakij. (2016). Thailand tourism hit a record 2.23 trillion in 2015. Retrieved from www.thansettakij.com/2016/01/08/25115. [In Thai]
The Office of SMEs Promotion. (2013). Tourism capital of Asia. Retrieved from www.sme.go.th. [In Thai]
World Economic Forum. (2013). the travel and tourism competitiveness. Retrieved from www3.weforum.org/docs/WEF._GlobalCompetitive
nessReport_2013-14.pdf. [In Thai]
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rded.). New York. Harper and Row Publications.
Zeithaml, V. A., Berry, L.L., & Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequences of service quality. Journal of Marketing. 60(2), 31-46.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก