ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจ้างแรงงานของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปวีณา โทนแก้ว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • สุพิชชา โชติกำจร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • นิพนธ์ เพชระบูรณิน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • วิศิษฏ์ บิลมาศ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

การจ้างแรงงาน , วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม , เอสเอ็มอี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การจ้างแรงงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจ้างแรงงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย โดยวิธีดำเนินการวิจัยจะเป็นรูปแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงแรงงาน และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ใน ปี พ.ศ. 2565 และใช้แบบจำลองถดถอยเชิงเส้นในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า จำนวนการจ้างงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2561-2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า การจ้างงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่มีการกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี  นอกจากนี้ จากผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจ้างแรงงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 พบว่า หากผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเพิ่มขึ้น และจำนวนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้การจ้างงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น ดังนั้น ภาครัฐควรดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งทำให้เศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดมีการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดที่มีตัวเลขการจ้างงานต่ำติดต่อกันหลายปีซึ่งภาครัฐอาจดำเนินนโยบายที่มีลักษณะเป็นการกระจายความเจริญสู่ชนบท โดยการสร้างอุปสงค์แรงงานในชนบทด้วยมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ ๆ ที่เกิดจากคนในพื้นที่ เพื่อทำให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ และส่งผลให้การจ้างงานในประเทศเพิ่มขึ้น

References

กระทรวงแรงงาน. (2566). ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11). กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงงาน.

ชาคร เลิศนิทัศน์. (2566). SME ไทยกับภารกิจสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2566, จาก https://tdri.or.th/2023/09/economic-sme-article/

ณิชกมล บุญประเสริฐ. (2566). การปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทย เพิ่มขึ้นเท่าไรในช่วงระยะเวลา 10 ปี. สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2566, จาก https://urbancreature.co/thai-minimum-wage-in-10-years/

ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ และฐิติมา ชูเชิด. (2556). บทบาทของตลาดแรงงานกับความสามารถในการแข่งขันของไทย. ใน งานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2556 (น.1-64). กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, ดารุณี พุ่มแก้ว และเมรดี อินอ่อน. (2564). เศรษฐกิจจังหวัดและการจ้างงานภาครัฐ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 16(2), 32-48.

ทรงธรรม ปิ่นโต และจริยา เปรมศิลป์. (2563). เศรษฐศาสตร์เล่มเดียวอยู่. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

นิพนธ์ พัวพงศกร และสุทธิภัทร ราชคม. (2567). แรงงานกลับบ้านเกิด เศรษฐกิจชนบทกำลังเปลี่ยน. สืบค้น 23 มีนาคม 2567, จาก https://policywatch.thaipbs.or.th/article/economy-12

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2556). บทบาทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 7(1), 205-250.

มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง. (2560). โครงการศึกษาวิจัยความต้องการแรงงานในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดเชียงราย กาญจนบุรี หนองคาย นครพนม และนราธิวาสในอีก 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2561 – 2565). กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์. (2564). ค่าแรงขั้นต่ำ ทำไมถึงต้องสูง. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.the101.world/why-high-minimum-wage/

วสุ สุวรรณวิหค และดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2566). เศรษฐกิจจังหวัดและการจ้างงานในประเทศไทย: วิเคราะห์ภาพรวมและภูมิภาค. วารสาร Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(1), 14-26.

วีรศักดิ์ โศจิพันธุ์, วสันต์ พลาศัย และเบญจารี สกุลราษฎร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการจ้างแรงงานภาคอุตสาหกรรมภายในจังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(3), 256-265.

สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). สถิติข้อมูลผู้ประกอบการและการจ้างงานของSME ในแต่ละพื้นที่จังหวัด. สืบค้น 7 ตุลาคม 2566, จาก https://www.sme.go.th/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=gross_regional

อัครพงศ์ อั้นทอง. (2550). คู่มือการใช้โปรแกรม Eviews เบื้องต้น: สำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อาภาพร ผลมี, พัฒน์ พัฒนรังสรรค์ และศรีอร สมบูรณ์ทรัพย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจ้างงานแรงงานไร้ทักษะในยุคประเทศไทย 4.0 ของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 9(18), 35-48.

Card, D. & Krueger, A. (1994). Minimum Wages and Employment: A Case Study of the Fast-Food Industry in New Jersey and Pennsylvania. The American Economic Review, 84(4), 772-793.

Damodar, G. (2003). Basic Econometrics (4th ed.). Singapore: Mc Graw-Hill Book.

Studenmund, A. H. (2014). Using econometrics: A practical guide (6th ed.). United States of America: Pearson Education Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

โทนแก้ว ป., โชติกำจร ส., เพชระบูรณิน น., & บิลมาศ ว. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจ้างแรงงานของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 6(3), 44–56. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/274105