คุณลักษณะของผู้นำปฏิรูปที่มีอิทธิพลต่อผลประกอบการของวิสาหกิจชุมชน ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
คุณลักษณะของผู้นำปฏิรูป , ผลประกอบการ , วิสาหกิจชุมชนในประเทศไทยบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ ศึกษาระดับคุณลักษณะของผู้นำปฏิรูปในองค์การวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย ศึกษาผลประกอบการของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย และเปรียบเทียบปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้นำปฏิรูปที่ส่งผลต่อผลประกอบการของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย โดยสังเกตุตัวแปรที่ส่งผลมากที่สุดต่อผลประกอบการซึ่งจะถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการวิสาหกิจชุมชนที่ทำการศึกษา โดยมีการการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพในการวิจัยเชิงปริมาณ มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ตามสัดส่วนประชากรจากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทยในแต่ละจังหวัด จำนวน 433 ราย จากนั้น เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้จัดการทั่วไปหรือผู้บริหารที่รับผิดชอบในวิสาหกิจชุมชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างใน 4 ภาคของประเทศคือ เหนือ อีสาน กลาง และใต้ จากคำแนะนำของหอการค้า หรือวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งหมด 8 ราย ผลการวิจัยจากการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับผู้นำปฏิรูป 4 ด้านที่ส่งผลต่อผลประกอบการของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย ด้วยการวิเคราะห์สถิติถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า คุณลักษณะของผู้นำปฏิรูปที่ส่งผลต่อผลการประกอบการของวิสาหกิจชุมชนคือการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลมีอิทธิพลต่อผลประกอบการมากที่สุด รองลงมาคือ การสร้างแรงบันดาลใจ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และการกระตุ้นทางปัญญา ตามลำดับ สอดคล้องกับผลการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยสามารถสรุปว่า การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลมีอิทธิพลทางตรงต่อผลประกอบการ เนื่องจากผู้นำที่คำนึงถึงความต้องการส่วนบุคคลนั้น จะทำตัวเป็นผู้ฝึกสอนและผู้ให้คำแนะนำในขณะที่ช่วยให้แต่ละคนเป็นตัวของตัวเอง ผู้นำแบบนี้จะใช้การมอบหมายอำนาจหน้าที่ซึ่งเป็นหนทางที่จะช่วยให้ผู้ตามเจริญเติบโตและท้าทาย โดยที่ผู้นำอาจแสดงความรักความชอบพอ หรืออาจใช้คำสั่งและกฎระเบียบอย่างเข้มงวดกับผู้ตามบางคนแตกต่างกันไปโดยการบูรณาการ ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ผู้ประกอบวิสาหกิจชุมชนให้ความสำคัญในระดับมากเช่นกัน เนื่องจากช่วยสนับสนุนส่งเสริมสมาชิก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ โดยการทำให้เกิดบรรยากาศของการมีนวัตกรรม ให้สมาชิกในกลุ่มมีวิสัยทัศน์ร่วมกันเพื่อสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ ที่ประทับใจลูกค้า อันเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ โดยผู้นำของชุมชน ต้องมีคุณลักษณะที่ทำให้เกิดความศรัทธาต่อสมาชิกชุมชน และชักนำสมาชิกให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งมีการจัดให้ชุมชนเข้าร่วมประชุมพูดคุยถึงปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อชุมชนนอกจากนี้ชุมชน ยังต้องอาศัยบทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการหางบประมาณมาพัฒนาตลาดชุมชน ปัจจัยด้านการกระตุ้นทางปัญญา ที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญในระดับมากเช่นกัน เนื่องมาจากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน มีความต้องการจำหน่ายสินค้าของตนให้มากๆ ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองมีความโดดเด่น มีความพิเศษ แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่นๆอีกทั้ง หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนแนวความคิดเหล่านี้ ในการสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ด้วยการผสมผสานวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของชุมชน หรือสร้างความมีลักษณะพิเศษเฉพาะให้กับผลิตภัณฑ์
References
กัญพัชร ไชยเชื้อ และสุวรรณี แสงมหาชัย. (2565). ภาวะผู้นำกับประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 1–11.
กุลชลี พวงเพ็ชร. (2563). การวิจัยทางธุรกิจ. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
เกียรติชัย กาฬสินธุ์. (2563). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนกรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). คู่มือการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก http://www.sceb.doae.go.th/Documents/STC/MannualRegistrationCE62.pdf
จิราภรณ์ เดชกัลยา, ภาวิน ชินะโชติ, ทองฟู ศิริวงศ์ และลักษมี ทุ่งหว้า. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อประสิทธิผลองค์การ: กรณีศึกษาสวนอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี. วารสารมนุษย์สังคมปริทัศน์ (มสป.), 23(1), 163-179.
จุรีวรรณ จันพลา. (2559). การเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้ประกอบการในธุรกิจแปรรูปอาหาร. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(1), 53-60.
ชญาภัทร์ กี่อาริโย, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, ทวีศักดิ์ รูปสิงห์ และวิเชียร เกตุสิงห์. (2559). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 26(1), 141-152.
ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพ: อมรินทร์พริ้นติ้งฯ.
ฐากรู อนุสรณ์พาณิชกุล. (2563). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการจัดการนวัตกรรมที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 14-25.
ทศพร แก้วขวัญไกร. (2560). ทางรอดวิกฤติเศรษฐกิจด้วยแนวทางวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(2), 33-50.
นภดล ร่มโพธิ์. (2553). การวัดผลองค์การแบบสมดุล. กรุงเทพฯ: คณะบุคคลอิเมจิเนียริ่ง.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2553). การออกแบบการวิจัย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พิชาภพ พันธุ์แพ. (2556). ผู้นำและการเปลี่ยนแปลงองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพงา เพ็งนาเรนทร์. (2558). บทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการท่อง เที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ของตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม, 19(1), 88-98.
พีรวุฒิ ศิริศักดิ์. (2559). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความคิดสร้างสรรค์ในองค์การ นวัตกรรมองค์การ ที่มีต่อผลผลประกอบการขององค์การ: ศึกษา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 27(3), 11-23.
มณฑิตา ศรีนคร และจุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์. (2563). ผลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ และความผูกพันยึดมั่นในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. วารสารพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 15(1), 120-133.
ศศิพร ต่ายคํา และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของ วิสาหกิจชุมชน จังหวัดราชบุรี. Veridian e-Journal, 8(1), 606-632.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร และพิมพ์ใจ วีรศุทธากร. (2555). การวัดค่าในงานวิจัยด้านบัญชีบริหาร. วารสารวิชาชีพบัญชี, 8(23), 76–90.
สถาพร ศิลปกิจ. (2565). รายงานสรุปประเภทกิจการของวิสาหกิจชุมชนที่อนุมัติการจดทะเบียนแล้วจำแนกตามพื้นที่ระดับประเทศ. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2565, จาก https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/article_attach/21313/21252.pdf
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2565). การเตรียมพร้อมเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยีเสมือนจริง. สืบค้าเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก https://lawforasean.krisdika.go.th/File/files/Immersive%20Technology.pdf
สุภมาส อังโชติ,สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์:เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2595). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด.
อรรชกา ศรีบุญเรือง. (2560). การประชุมทางวิชาการด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรี (Woman’s Entrepreneurship Conference Bangkok 2017). ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.sti.or.th/news-detail.php?news_id=165
Ableeva, A., Salimova, G., Farrahetdinova, A., Galimova, A., Gabidullina, G., & Galimova, E. (2024). A balanced scorecard system as a character of the enterprise's financial stability. International Journal of Intelligent Enterprise, 11(1), 21-32.
Abdullah, Z., Saad, N., Amran, N. A., & Ibrahim, M. (2020). Leadership Styles and Attributes of Prominent Women Business Leaders: A Case Study. Journal of Business Management and Accounting, 10(1), 1-27.
Babcock-Roberson, M. E., & Strickland, O. J. (2010). The relationship between charismatic leadership, work engagement, and organizational citizenship behaviors. The Journal of Psychology, 144, 313–326.
Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.
Chow, C. W., & Van der Stede, W. A. (2006). The use and usefulness of nonfinancial performance measures. Management Accounting Quarterly, 7(3), 1–8.
Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates
Gui, L., Lei, H. & Le, P.B. (2024). Fostering product and process innovation through transformational leadership and knowledge management capability: the moderating role of innovation culture. European Journal of Innovation Management. 27(1), 214-232.
Hadi, S., Fitriana, H., Kirana, K. C., Subekti, N. B., & Ogwu, I. J. (2023). The Impact of Temporal and Transformational Leadership on Innovation Performance: A Mediation Analysis of Self-Efficacy. Journal of Leadership in Organizations, 5(2), 132-154.
Kaplan, S. R. & D. P. Norton. (1996). The Balanced Scorecard: Translating Strategy Into Action. Boston: Harvard Business School Press.
Merriam, S. B. (2009). Qualitative research: A guide to design and implementation. San Francisco: Jossey-Bass.
Northouse, P. G. (2004). Leadership, Theory and Practice (3rd ed.). California: Sage Publications.
Phong, B. L. E. & Thanh, T. L. E. (2023). Transformational Leadership and Innovation Capability: Roles of Knowledge-centered Culture and Knowledge Sharing. Journal of Asian Finance, Economics and Business, 10(1), 111-121.
Raghu, N. S. (2018). Leadership styles, roles and attributes that leaders need to influence Employment Equity (the degree of Master). South Africa: University of Pretoria.
Rowold, J., & Schlotz, W. (2009). Transformational and transactional leadership and followers’ chronic stress Kravis Leadership institute. Leadership Review, 9, 35-48.
Sarfaraz, L., Faghih, N., & Majd, A. A. (2014). The relationship between woman entrepreneurship and gender equality. Journal of Global Entrepreneurship Research, 2(1), 1–11.
Sheehan, M., Garavan, T. N., & Carbery, R. (2013). Innovation and human resource development (HRD). European Journal of Training and Development, 83 (1/2), 2-14.
Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2007). Using Multivariate Statistics (5th ed.). New York: Allyn and Bacon.
Weinzimmer, L. G., Michel, E. J., & Franczak, J. L. (2011). Creativity and firm-level performance: The mediating effects of action orientation. Journal of Management, 23(1), 62-82.
Yamane, T. (1970). Statistic: An Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper & Row
Zuriekat, M., Salameh, R., & Alrawashdeh, S. (2011). Participation in performance measurement systems and level of satisfaction. International journal of Business and Social Science, 2, 159–169.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง