การศึกษาผลการใช้หลักสูตรผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในยุคดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
ผลการใช้หลักสูตร , ผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในยุคดิจิทัล , ผู้ประกอบการมือใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการมือใหม่ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตรผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในยุคดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 2) เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในยุคดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในยุคดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 50 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตร แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต แบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Ratting Scale) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการมือใหม่ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตรผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในยุคดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในยุคดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.01, S.D.=0.11)
References
ชุลีพร สุระโชติ. (2563). การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2558). การประเมินหลักสูตร : แนวคิดกระบวนการและการใช้ผลการประเมิน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, 8(1), 13-28.
มารุต พัฒผล. (2556). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์แอนด์เอ็นปริ้นท์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2562). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2561). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุภาภรณ์ โตโสภณ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2561). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(2), 275-289.
สุภาภรณ์ เหรียญประดับ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2561). สถานการณ์เศรษฐกิจดิจิทัลไทย. สืบค้น 15 สิงหาคม 2566, จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/thailand-digital-economy-glance
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2565). โอกาสเติบโตในยุคดิจิทัล. สืบค้น 15 สิงหาคม 2566, จาก https://www.nxpo.or.th/th/12115/.
อรจิรา ธรรมไชยางกูร และเมทิกา พ่วงแสง. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษาคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร(รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร.
Deniz, E. (2002). Approaches to Evaluation Training: Theory & Practice. New York: Syracuse University.
Kirkpatrick. (1998). Evaluating training programs: The four levels (2nd ed.). San Francisco: Berrett-Koehler.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Mitchelmore, S., & Rowley, J. (2010). Entrepreneurial Competencies: A Literature Review and Development Agenda. International Journal of Entrepreneurial Behavior and Research, 16(2), 92-111.
Nourian, M. & Ghoddousi, F. (2015). An assessment model for competency-besed curriculum in vocational education and training in Iran, International Journal of Educational and Psychological Researcher, 1(2), 105-112.
Santrock, J. W. (2018). Educational psychology (6th ed.). New York: McGraw-Hill.
Stufflebeam, D.L. & Shinkfield, A.J. (2007). Evaluation Theory, Models, & Application. San Francisco: John Wiley.
UNIDO. (2002. Human Resource Management Branch.UNIDO Competencies Part One. Retrieved August 23, 2023, from http;//www.unido.org.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง