แนวทางการพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนภูป่าเปาะ ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • สุนีย์ แซ่เต๋ง คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
  • อังค์วรา ณ สุนทร คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวโดยชุมชนภูป่าเปาะ , คุณภาพการบริการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพบริการการท่องเที่ยวโดยชุมชนภูป่าเปาะ ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการให้บริการการท่องเที่ยวโดยชุมชนภูป่าเปาะ ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนภูป่าเปาะให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล1) กลุ่มรถแต๊ก ๆ จำนวน 5 คน 2) นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 10 คน 3) คณะกรรมการชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูป่าเปาะ/ผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย ด้านผู้ให้บริการ พบว่า 1) ด้านความเป็นรูปธรรม มีการให้บริการเป็นระบบมีขั้นตอนที่ดี 2) ด้านการตอบสนอง มีความพร้อมต่อการให้บริการเป็นอย่างดี 3) ด้านความน่าเชื่อถือ ได้รับข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวอย่างถูกต้อง 4) ด้านการให้ความมั่นใจ มีการไว้วางใจในบริการ และ 5) ด้านความใส่ใจ ได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพการบริการเป็นอย่างมากซึ่งจะเน้นไปที่ด้านการให้บริการรถแต๊ก ๆ และคอยแนะนำขั้นตอนการใช้บริการ ด้านนักท่องเที่ยว พบว่า 1) ด้านความเป็นรูปธรรม มีเส้นทางการเดินทางที่สะดวก มีป้ายบอกระยะทางที่ชัดเจน 2) ด้านการตอบสนองมีบริการที่ดี และเต็มใจให้บริการ 3) ด้านความน่าเชื่อถือ มีการให้บริการที่คำนึงถึงความปลอดภัยตลอดระยะการเดินทาง 4) ด้านการให้ความมั่นใจ มีการติดป้ายแสดงอัตราค่าบริการที่ชัดเจน แสดงให้เห็นว่ามีความน่าเชื่อถือ โปร่งใส และการให้บริการของคนขับรถแต๊ก ๆ มีความเชี่ยวชาญ มีทักษะที่ดี และมีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที และ 5) ด้านความใส่ใจ มีความกระตือรือร้น ในการให้บริการด้านความพึงพอใจ นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก และคุณภาพการบริการมีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางเดียวกันทุกด้าน การท่องเที่ยวโดยชุมชนภูป่าเปาะ ควรให้คนในชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว มีการสร้างเอกลักษณ์ และความโดดเด่นของชุมชน ด้วยการให้บริการที่ดี และควรเพิ่มกิจกรรมที่ทำร่วมกันกับนักท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดความประทับใจ และดึงดูดใจในการมาท่องเที่ยว

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุติมา บุญมี และคุลิกา ธนะเศวตร. (2562). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดตรัง สตูล และกระบี่. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 11(3), 491-503.

ณัฐกานต์ รองทอง, และวงศ์วิภา โถสุวรรณ์จินดา. (2561). แนวทางการพัฒนาศักยภาพรูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนบ้านสาขลา อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(1), 109-129.

ทวีสินธุ์ ตั้งเซ่ง. (2562). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เชื่อมโยงมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 9(2), 183-193.

ธีรพันธ์ ทัศนิยม, พีรดนย์ ศรีจันทร์, และอรรฆพร ก๊กค้างพลู. (2565). การเปรียบเทียบศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(4), 20-36.

นิทัศน์ บุญมา. (2560). แนวทางการส่งเสริมคุณภาพการบริการการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

นิลาวัลย์ สว่างรัตน์. (2561). การประเมินคุณภาพการให้บริการที่คาดหวังเปรียบเทียบกับการบริการที่รับรู้จริง เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและยั่งยืนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดระยองของประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(3), 53-66.

ปุณยวีร์ วิเศษสุนทรสกุล, ชมพูนุช จิตติถาวร, และสหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล. (2563). แนวทางพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(3), 22-33.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

พรศิลป์ บัวงาม และอุทุมพร ศรีโยม. (2564). แนวทางพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(41), 230-241.

วัชระ กรรณิการ์ และเสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์. (2562). การประเมินคุณภาพการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดตรัง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(1), 114-126.

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2554). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้น 17 กันยายน 2563, จาก https://cbtyouth.wordpress.com/cbt-youth/cbt/

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). แผนการปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2561 – 2565. สืบค้น 17 กันยายน 2563, จาก https://secretary.mots.go.th/views/1481

สุธิรา ปานแก้ว, สิริปุณยาการ ไกรเทพ และจิระนาถ รุ่งช่วง. (2563). การพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อส่งเสริมคุณภาพการบริการของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะมุก จังหวัดตรัง (รายงานการวิจัย).สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

อภิชัย ธรรมนิยม, และพิมพิลา คงขาว. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนอาเซียน กรณีศึกษา บ้านกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีษะเกษ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(3), 108-117.

Kotler, P. (1997). Marketing Management. New Jersey: Prentice Hall International.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12–40.

Zeithaml, V.A., Parasuraman, A., & Berry, L.L. (1990). Delivering Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectations. New York: The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite