การยอมรับการท่องเที่ยวทางเพศในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวทางเพศ , องค์ประกอบการยอมรับ , การยอมรับการท่องเที่ยวทางเพศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับการท่องเที่ยวทางเพศในประเทศไทยและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการยอมรับการท่องเที่ยวทางเพศในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนชาวไทยในกรุงเทพมหานครที่มีสัญชาติไทย มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ใช้การเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน และแบบโควตา ซึ่งแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มตามเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิง ด้วยวิธี Enter ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านอายุและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อองค์ประกอบการยอมรับการท่องเที่ยวทางเพศแตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยกลุ่มตัวอย่างช่วงอายุใน Generation Z (=3.761, S.D.=0.479) ยอมรับการท่องเที่ยวทางเพศมากกว่า Generation X (=3.705, S.D.=0.449) และ Baby boomer (=3.391, S.D.=0.602) กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี (=3.509, S.D.=0.558) ยอมรับการท่องเที่ยวทางเพศน้อยกว่าระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (=3.692, S.D.=0.543) และบรรทัดฐานของระบบสังคม (Beta=0.406) คุณลักษณะของสิ่งใหม่ (Beta=0.225) และโครงสร้างทางสังคม (Beta=0.147) ส่งผลต่อการยอมรับการท่องเที่ยวทางเพศในประเทศไทย
References
กัญญานัฐ ปิ่นเกษ. (2561). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และปัจจัย ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการการท่าเรือ (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ฉัตรฑริกา นภาธนาพงศ์ และรัศมีจันทร์ เสาวคนธ์. (2565). กฎหมายตีตราตีค่า Sex worker. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://tdri.or.th/2022/06/time-to-rethink-prostitution-act/
ณภัทร งามวิลัย. (2558). การศึกษาการยอมรับนวัตกรรมแท็บเล็ตเพื่อการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธานี ชัยวัฒน์. (2564). ข้ามเคลื่อนเลื่อนย้าย: พลวัตผู้ค้าบริการทางเพศข้ามชาติในอาเซียน. กรุงเทพฯ: มติชน.
พรทิพย์ อำพัฒน์ และหัชชากร วงศ์สายัณห์. (2561). ปัญหาโสเภณีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. ใน โครงการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติของนักศึกษา ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1 (หน้า 577-587). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พรอุษา ประสงค์วรรณะ. (2556). การศึกษาชุมชนต้นแบบต่างศาสนาที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติในแขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). อยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภัทรดนัย พิริยะธนภัทร. (2559). การศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยด้านเว็บไซต์พระเครื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าหรือประมูลพระเครื่องออนไลน์ (E-COMMERCE) (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง, วนิดา ทองโคตร และสุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. (2560). การกำหนดขนาดตัวอย่างสูตร Yamane (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรารัตน์ โพธิสมบัติ. (2558). การยอมรับค่านิยมหลักกรมการแพทย์ของบุคลากรโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิสัชนา บัวละบาล. (2556). การศึกษาปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการซื้อเครื่องสําอางบํารุงผิวกายของผู้ชายในเขตอําเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สกฤษฏ์ ช่องประเสริฐ. (2559). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงานบริษัทสินก้าวคอนสตรั้คชั่น จำกัด (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สุภัญชลี อ้นไชยะ. (2560). รูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). ความรู้ความเข้าใจต่อหลักเกณฑ์การรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติติตามองค์ประกอบของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชีในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 15(2), 195-209.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). สถิติจำนวนประชากร. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData
Centers for Disease Control and Prevention. (2022). Sex Tourism. Retrieved February 8, 2023, from https://wwwnc.cdc.gov/travel/page/sex-tourism
Edward Herold, Rafael Garcia, & Tony DeMoya. (2001). Female Tourists and Beach Boys Romance or Sex Tourism. Annals of Tourism Research, 28(4), 978-997
Hair Jr., J.F., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. (2009). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Prentice Hall: Upper Saddle River.
Holden, A. (2017). Sex tourism as an instrument of development policy: An analysis. In Tourism and Development in Sub-Saharan Africa (pp. 161-182). Springer: Cham.
Jeong, J. Y., & Lee, K.-Y. (2023). Is Sex Tourism Intention Uncontrollable? The Moderating Effects of Ethics and Law. Journal of Travel Research, 62(3), 578–592.
Leheny, D. (1995). A political economy of Asian sex tourism. Annals of Tourism Research, 22(2), 367-384.
Smith, A. B. (2015). Religious Beliefs and Sexual Behaviors in Tourism: A Case Study of Private Sector. Journal of Tourism and Religion, 7(2), 134-150.
Smith, J. A. (2019). Social Change and Attitudes towards Sex Tourism: A Case Study of Urban Residents. Journal of Sociological Research, 10(2), 123-145.
Smith, J., Johnson, M., Brown, A., & Lee, C. (2019). Sex tourism: A comparative study of attitudes among tourists and locals. Journal of Travel Research, 46(3), 256-269.
Teixeira, R. & DeSouza, R., (2018). Attitudes towards sex tourism: A cross-cultural perspective. Tourism and Hospitality Research, 18(2), 123-135.
Zhang, H., & Wang, L. (2016). Economic impact and acceptance of sex tourism: A case study of a tourist destination in Southeast Asia. Journal of Sustainable Tourism, 15(4), 567-580.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง