วิธีการวัดคุณภาพของระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคล เพื่อการบริการทางการแพทย์ในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • อลิชา มุณีสว่าง คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วศิน เหลี่ยมปรีชา คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วิมลา ผ่องแผ้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

วิธีการวัดคุณภาพ , ประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคล , ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการประเมินคุณภาพระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System: HIS) และวิเคราะห์ผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคลในบริบทของการบริการทางการแพทย์ โดยใช้กรณีศึกษาโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก การวิจัยเชิงปริมาณนี้ อาศัยทฤษฎีดีลอนและแม็คคลีนในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่วัดจากผู้ใช้งาน จำนวน 297 คน ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล สหวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงบรรยาย (ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพโดยรวมของระบบ HIS อยู่ในระดับมาก (equation=3.65) โดยมิติย่อยเรียงตามลำดับ ได้แก่ 1. คุณภาพของระบบ 2. คุณภาพของสารสนเทศ 3. ประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคล 4. การใช้งาน และ 5. ความพึงพอใจของผู้ใช้ ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคลมากที่สุด คือ ความพึงพอใจของผู้ใช้ (.435) รองลงมาคือ การใช้งาน (.185) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แสดงค่า R2 = .796  คิดเป็นร้อยละ 79.60 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 งานวิจัยครั้งนี้ยืนยันว่า วิธีการที่เสนอสามารถประเมินคุณภาพของระบบ HIS ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแนวทางการจัดการระบบสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ต่อไป

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์ปแอนด์ดี.

พระศุภกร มหาวีโร และบุญฑวรรณ วิงวอน. (2566). อิทธิพลของการรับรู้คุณภาพบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ความไว้วางใจทางเล็กทรอนิกส์ และการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจในการบริจาคเงินให้วัดของประชาชน ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ อําเภอเมืองลําปาง จังหวัดลําปาง. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 5(1), 114-128.

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. (2564). รายงานประจำปีข้อมูลประวัติโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร 1 ตุลาคม 2563 -30 กันยายน 2564. พิษณุโลก: คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. (2561). ข้อมูลจำนวนบุคลากรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก: คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วลัยพร ริ้วตระกูลไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาบริการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์ และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิด ทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2560 – 2569). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2565, จาก https://ict.moph.go.th/upload_file/files/eHealth_Strategy_THAI_16NOV17.pdf

อรวรรณ สุขยานี. (2558). ความตั้งใจในการใช้ระบบสารสนเทศการบริหารทรัพยากรบุคคลของบุคลากรสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์:การประยุกต์ใช้ตัวแบบการยอมรับเทคโนโลยี (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Bernroider, E. W. (2008). IT governance for enterprise resource planning supported by the DeLone–McLean model of information systems success. Information & Management, 45(5), 257-269.

Cui, Y., Wu, Z., Lu, Y., Jin, W., Dai, X., & Bai, J. (2016). Effects of the performance management information system in improving performance: an empirical study in Shanghai Ninth People’s Hospital. Springerplus, 5(1), 1-8.

DeLone, W. H. & McLean, E. R. (1992). Information systems success: The quest for the dependent variable. Information systems research, 3(1), 60-95.

DeLone, W. H. & McLean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of information systems success: a ten-year update. Journal of management information systems, 19(4), 9-30.

DeLone, W. H. & McLean, E. R. (2004). Measuring e-commerce success: Applying the DeLone & McLean information systems success model. International Journal of electronic commerce, 9(1), 31-47.

DeLone, W. H. & McLean, E. R. (2016). Information systems success measurement. Foundations and Trends® in Information Systems, 2(1), 1-116.

Dembla, P., Flack, C., & Petter, S. (2015). Extending the DeLone and McLean IS success model to cloud computing. In AMCIS 2015 PROCEEDINGS. https://aisel.aisnet.org/amcis2015/StrategicUse/GeneralPresentations/6/

Doll, W. J. & Torkzadeh, G. (1988). The Measurement of End-User Computing Satisfaction. MIS Quarterly, 12(2), 259–274. https://doi.org/10.2307/248851

Gorla, N., Somers, T. M., & Wong, B. (2010). Organizational impact of system quality, information quality, and service quality. The Journal of Strategic Information Systems, 19(3), 207-228.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Petter, S., DeLone, W., & McLean, E. (2008). Measuring information systems success: models, dimensions, measures, and interrelationships. European journal of information systems, 17, 236-263.

Ramos-Villagrasa, P. J., Barrada, J. R., Fernández-del-Río, E., & Koopmans, L. (2019). Assessing Job Performance Using Brief Self-report Scales: The Case of the Individual Work Performance Questionnaire. Journal of Work and Organizational Psychology, 35, 195 - 205. https://doi.org/10.5093/jwop2019a21

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

มุณีสว่าง อ., เหลี่ยมปรีชา ว., & ผ่องแผ้ว ว. (2024). วิธีการวัดคุณภาพของระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคล เพื่อการบริการทางการแพทย์ในยุคดิจิทัล. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 6(3), 74–88. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/267974