การศึกษากระบวนการการผลิตสื่อ Vlog เพื่อการตระหนักรู้ด้านความรุนแรง ภายใต้แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จ.อุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เสกสรร สายสีสด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สุวัฒนา ดีวงษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สุพรรษา ปัญญาทอง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • นวียาฐ์ ศักยเศรษฐ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ชาย วรวงศ์เทพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • บุณยนุช สุทธิอาจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

การรู้เท่าทันสื่อ , การผลิตสื่อ , วล็อก , การมีส่วนร่วม , ความรุนแรงในโรงเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดกิจกรรมค่ายสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตเทศบาลนครอุดรธานีให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ 2) เพื่อผลิตสื่อ Vlog เพื่อตระหนักรู้ด้านความรุนแรงภายใต้แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ สื่อ Vlog เพื่อการตระหนักรู้ด้านความรุนแรงที่พัฒนาขึ้น ใช้การวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพได้คัดเลือกนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 6 โรงเรียน รวม 30 คน ได้มาแบบเจาะจง การผลิตสื่อ Vlog แบบมีส่วนร่วม มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) การผลิตสื่อ Vlog ใช้เทคนิค 3P ก่อนการผลิต การผลิต และหลังการผลิต 2) ขั้นตอนการผลิตสื่อใช้วิธีแบบมีส่วนร่วม โดยให้รุ่นพี่เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงนักเรียนทุกขั้นตอน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากนักเรียน จำนวน 265 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ยผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า 1) กระบวนการผลิตสื่อ Vlog แบบมีส่วนร่วมทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและมีความตะหนักรู้ด้านความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จากการได้ศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการผลิตสื่อขึ้นมา 2) นักเรียนที่เข้ารับการอบรมมีผลงานสื่อ Vlog เพื่อตระหนักรู้ด้านความรุนแรงภายใต้แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อแบบมีส่วนร่วม จำนวน 6 เรื่อง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ด้านผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า 3) นักเรียนที่เข้าชมสื่อ Vlog การรู้เท่าทันสื่อเพื่อการตระหนักรู้ด้านความรุนแรง มีความพึงพอใจต่อสื่อ Vlog อยู่ในเกณฑ์มากทุกข้อโดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.06, S.D.=0.764) ส่วนด้านตระหนักรู้ด้านความรุนแรงรู้พบว่า นักเรียนมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรงทุกข้ออยู่ในเกณฑ์มาก โดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ใน
ระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.09, S.D.=0.775)

References

จีรภัทร ใจอารีย์. (2564). แนวทางการพัฒนาตนเองของนักศึกษาสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(2), 95-110.

ฐาศุกร์ จันประเสริฐ. (2554). ความรุนแรงในโรงเรียน เสียงสะท้อนจากเด็ก เยาวชน และผู้เกี่ยวข้อง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 3(1), 1-9.

ตฤณห์ โพธิ์รักษา. (2565). อิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของเด็ก และเยาวชน. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 5(2), 97-116.

ดนัย อังควัฒนวิทย์. (2563). ปัญหาความรุนแรง ในเด็กและวัยรุ่น. สืบค้น 30 ตุลาคม 2563, จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/01sep2020-0957

โตมร อภิวันทนากร. (2552). คู่มือจัดกระบวนการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนรู้เท่าทันสื่อ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ปิ่นโต พับลิชชิ่ง.

ไทยพีบีเอส. (2561). แนวโน้มความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มสูง. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/275162

บุบผา เมฆศรีทองคำ. (2554).การศึกษาการรู้เท่าทันสื่อ: วิถีทางในการสร้างพลังการรู้เท่าทันสื่อ. วารสารนักบริหาร, 31(2), 63-69.

บุษบา หินเธาว์. (2564). การพัฒนาเนื้อหาของสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจเพื่อสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสมุนไพร ป้าจีตําบลดอนทอง อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(3), 64-81.

มธุรดา สุวรรณโพธิ์. (2559). ปรับพฤติกรรม แก้ปัญหาวัยรุ่นใช้ความรุนแรง. สืบค้น 15 ตุลาคม 2563, จาก https://www.thaihealth.or.th/ปรับพฤติกรรม-แก้ปัญหาวั/

เยาวภา บัวเวช และมาริษา สุจิตวนิช. (2558). การวิจัยการรู้เท่าทันสื่อ: ประโยชน์และการนำไปใช้ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ยศวริศ นามแฝง. (2564). จุดเริ่มต้นการทำหนังสั้น 3P Production. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2566, จาก https://news.trueid.net/detail/MlOY01qx176m

รัตนางศ์ ตุละวรรณ. (2563).การมีส่วนร่วมของผู้รับสารในสื่อเพื่อการเรียนรู้จากงานวิจัย. วารสารศาสตร์, 13(1), 233-263.

รินทร์ลภัส เกตุวีระพงศ์. (2564). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การรู้เท่าทันสื่อ และการตระหนักรู้การกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารพิฆเนศวร์สาร, 17(2), 143-160.

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2561). เด็กทั่วโลกกำลังเผชิญความรุนแรงในโรงเรียน ไทยปีละกว่า 600,000 ราย. สืบค้น 25 ธันวาคม 2562, จาก https://www.tcijthai.com/news/2018/02/scoop/8545

สกุลศรี ศรีสารคาม. (2565). การสร้างโมเดลต้นแบบเพื่อพัฒนาทักษะการคิดและรู้เท่าทันสื่อหลากแพลตฟอร์มของผู้ผลิตสื่อด้วยกระบวนการเล่าเรื่องข้ามสื่อและการคิดเชิงออกแบบ. วารสาร ปัญญาภิวัฒน์, 15(1), 293-307.

สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม. (2561). สถานการณ์การใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/275162

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี. (2564). ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดอุดรธานี. สืบค้น 27 มีนาคม 2563, จาก https://drive.google.com/file/d/1lR7Fo_hvt_H9nfUyOCKPh5mzBXbE7XWe/view

เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2564). การสร้างสรรค์สื่อรณรงค์แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้าใจและลดปัญหาการเสพน้ำกระท่อมในกลุ่มเยาวชนพื้นที่เสี่ยงของจังหวัดสงขลา(รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ. (2559). การรู้เท่าทันสื่อ: ประโยชน์และการนำไปใช้ กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(2), 183-195.

Potter, W. J. (2014). Theory of media literacy (3rd ed.). London: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

สายสีสด เ., ดีวงษ์ ส., ปัญญาทอง ส., ศักยเศรษฐ์ น., วรวงศ์เทพ ช., & สุทธิอาจ บ. (2024). การศึกษากระบวนการการผลิตสื่อ Vlog เพื่อการตระหนักรู้ด้านความรุนแรง ภายใต้แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จ.อุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 6(1), 73–91. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/267279