อิทธิพลการรับรู้ผ่านคลิปวิดีโอสั้นและภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยที่ส่งผลการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุเพ็ญนภา บุญเพิ่ม คณะสื่อสารสากล สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
  • สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

คำสำคัญ:

การรับรู้ผ่านคลิปวิดีโอสั้น , ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัย , ความพึงพอใจ , การตัดสินใจศึกษาต่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการใช้แพลตฟอร์มวิดีโอสั้น 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อคลิปวิดีโอสั้น ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัย ความพึงพอใจ และการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชน และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลการรับรู้ผ่านคลิปวิดีโอสั้น ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชน  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสำรวจจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างด้วย Smart PLS 4.0 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้านพฤติกรรมพบว่าส่วนใหญ่รับชมคลิปวิดีโอสั้นทุกวัน เฉลี่ยรวมทั้งวันมากกว่า 30 นาที แพลตฟอร์มที่ใช้รับชมมากที่สุด
คือติ๊กต็อก ด้านการทดสอบสมมติฐานจากสมการเชิงโครงสร้าง คลิปวิดีโอสั้นมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจ ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจ ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชน ความพึงพอใจของผู้บริโภคมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชน ส่วนการรับรู้ผ่านคลิปวิดีโอสั้นไม่มีมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). อัตราเกิดลด? มหาวิทยาลัยไทยจะอยู่รอดได้อย่างไร?. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.kriengsak.com/node/975

จิราภา เขมาเบญจพล และสุทธิลักษณ์ หวังสันติธรรม. (2563). การเปิดรับความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อเนื้อหาการตลาดบนอินสตาแกรมสตอรี่กับความตั้งใจซื้อ. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 14(1), 67-80.

มติชนออนไลน์. (2561). ทางรอด..ทางเลือก สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/education/news_787866

มนสิช สิทธิสมบูรณ์, วีรวรรณ จงจิตร ศิริจิรกาล และจุรีรัตน์ เสนาะกรรณ. (2562). มโนทัศน์การสร้างภาพลักษณ์องค์การ. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2565, จากhttps://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData

ณภัทรชนม์ หาวิชา และกรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ. (2564). รูปแบบการตลาดด้านเนื้อหาที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารผ่านร้านค้าออนไลน์ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมาสาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(3), 340-354.

นงเยาว์ ขัติวงษ์. (2562). การศึกษาช่องทางการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปฐมา อาแว และนิยาวาเฮร์ ไพบูลย์. (2562). การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2562. วารสารวิชาการที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย, 9(2), 22-32.

Assael, H. (1998). Consumer behavior and marketing action. Cincinnati, OH South-Western College.

Chin, W. W. (1998). The Partial Least Squares Approach to Structural Equation Modeling. Modern Methods for Business Research, 2, 295-336.

Cortina, J. M. (1993). What is Coefficient Alpha: An Examination of Theory and Applications. Journal of Applied Psychology, 78(1), 98-104.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.), New York: Harper Collins Publishers.

Herman, E. (2020). Short Video VS Long Video: Optimizing Video Length. สืบค้น 2 สิงหาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/aSOU6

Keller, K. L. (2008). Branding Perspectives on Social Marketing. In Advances in Consumer Research, 25, 299-302.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Liao, J. (2016). Our 8 second attention span and the future of news media. สืบค้น 2 สิงหาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/qrpgQ

Maslow, A. (1943). A Theory of Human Motivation. Psychological Review, N.Y: McGraw-Hill.

Moody, P. (1995). Decision Making: Provan Methods for Better Decision. Singapore: McGraw-Hill Book Company.

Mowen, J.C., & Minor, M. (1998). Consumer Behavior (5th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice-Hall.

Sarstedt, M., Ringle, C., & Hair, J. (2017). Partial Least Squares Structural Equation Modeling. Illinois, Irwin.

Sawati, P., Satyendra P. C., Andrea, B. & Xiaoguang, T. (2019). University Brand Image as Competitive Advantage: A Two Country Study. International Journal of Educational Management, 33(2), 234-251.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2016). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling (4th ed.). New York: Routledge/Taylor & Francis Group.

Shelley, M. W. (1975). Responding to Social Change. Pennsylvania, Dowden: Hutchison.

Simon, H. (1966). Administrative Behavior: A Study of Decision-Making Process in Administrative Organization. Toronto: The Free Press.

TikTok. (2022). ข้อมูลบัญชี TikTok มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในชื่อบัญชี Bangkok.bu. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.tiktok.com/@bangkok.bu?lang=th-TH

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

บุญเพิ่ม ส., & อุดมธนวงศ์ ส. (2024). อิทธิพลการรับรู้ผ่านคลิปวิดีโอสั้นและภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยที่ส่งผลการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 6(1), 21–34. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/265693