ผลกระทบจากนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการ องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รักษิตา ดีอ่ำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อรุณี นุสิทธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • รัตนา สิทธิอ่วม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ , นวัตกรรมกระบวนการ , องค์กรแห่งการเรียนรู้ , ธุรกิจนำเที่ยว , ผลการดำเนินงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาผลกระทบที่นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการ และองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยในระหว่าง
ช่วงภาวการณ์ระบาดของโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยจำนวน 386 ราย ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการ และองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยภาพรวมมี
ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ขณะที่ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ด้านปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์และบริการ นวัตกรรมกระบวนการด้านปรับปรุงกระบวนการทำงาน และองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการคิดอย่างมีระบบ ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกิจการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้นผู้ประกอบการควรปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ และบริการ โดยนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยให้พนักงานลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน รวมถึงกระตุ้นให้พนักงานสามารถคิดอย่างเป็นระบบได้มากขึ้น 

References

ดวงกมล วิลาวรรณ. (2559). การจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปริญ พิมพ์กลัด. (2557). ปัจจัยของนวัตกรรมองค์กร และองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่มีอิทธิพลต่อผลดำเนินงานของสถาบันการเงินผู้ให้บริการด้านสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ปริญญา นาคปฐม, สันติธร ภูริภักดี และเกิดศิริ เจริญวิศาล. (2562). ฝ่าวิกฤตธุรกิจนำเที่ยวด้วยทฤษฎีทางนวัตกรรม. วารสารวิจัยราชภัฏพระนครสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 426-441.

พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์. (2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 29 ก. หน้า 2.

พรพิมล ขำเพชร และรุ่งรวี จิตภักดี. (2562). นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 14(1), 108-121.

มิ่งขวัญ บุญรอด. (2561). ผลกระทบของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการบริการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการตลาดของธุรกิจโรงแรม ระดับ 3-4 ดาวในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วารุณี กุลรัตนาวิจิตรา. (2560). ปัจจัยด้านนวัตกรรมทางธุรกิจส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ประเภทบริการ) (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). วิเคราะห์ผลกระทบของโควิด-19 ต่อธุรกิจท่องเที่ยว. โครงการประเมินผลกระทบโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ. สืบค้น 19 ธันวาคม 2565, จาก https://tdri.or.th/2021/02/covid-112/

Almulhim, A. (2020). The effect of tacit knowledge and organizational learning on financial performace in service industry. Management Science Letters, 10(10), 2211-2220.

Brigit, P., Mike, P., & Chung-Shing, C. (2018). Needs, drivers and barriers of innovation: The case of an alpine community-model destination. Tourism Management Perspective, 25, 53–63.

Christa, U. R., & Kristinae, V. (2021). The effect of product innovation on business performance during COVID 19 pandemic. Uncertain Supply Chain Management. 9(1), 151–158.

Clausen, T. H., & Madsen, E. L. (2014). Innovation, their knowledge sources and their effects in exoerience-based tourism. In Handbook of research on innovation in tourism industries (pp.113-131). Edward Elgar.

Divisekera, S., & Nguyen, V. K. (2018). Determinants of innovation in tourism evidence from Australia. Tourism Management, (67), 157-167.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-23

How to Cite