การศึกษาศักยภาพการผลิตที่ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาชุมชน บ้านทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา , เครื่องปั้นดินเผา, บ้านทุ่งหลวงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและศักยภาพการผลิต และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง โดยมีผู้ผลิตจำนวน 120 ครัวเรือน เป็นผู้ให้ข้อมูล เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และเทคนิคการสร้างภาพอนาคต ผลการวิจัยพบว่า ด้านสภาพปัญหาการผลิต พบว่า ผลิตภัณฑ์มีน้ำหนักมาก ราคาค่อนข้างถูก แตกหักง่าย มีรูปแบบใกล้เคียงกัน ไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีราคาสูงได้ ต้นทุนในการผลิตสูง ด้านศักยภาพการผลิต พบว่า ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีสมาชิกร่วมผลิต 1-2 คน ขึ้นรูปด้วยมือบนแป้นหมุน และการหล่อพิมพ์ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นหม้อต้มอาหาร กระถางต้นไม้ มีการตกแต่งผิวผลิตภัณฑ์ มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 10-100 ชิ้นต่อวัน เผาที่อุณหภูมิ 800-900 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่มีรายได้ 10,000-15,000 บาทต่อเดือน ส่วนแนวทางการพัฒนามีประเด็นในการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ โดยพัฒนาให้มีมูลค่าสูงและเหมาะสมกับการช่องทางการตลาดสมัยใหม่ 2) ด้านการตลาด โดยการสร้างช่องทางการตลาดออนไลน์ 3) ด้านเครือข่าย โดยการเข้าร่วมโครงการภาครัฐหรือสถาบันการศึกษาในการแก้ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์และเศรษฐกิจในทุกช่องทาง การรวมกลุ่ม และการสร้างภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็ง และ 4) ด้านชุมชนและกิจกรรมบริการ โดยการสร้างความเข้าใจปรับทัศนคติ และการสร้างต้นแบบผู้ผลิตที่ประสบความสำเร็จในชุมชน
References
ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี. (2558). แนวคิดเรื่องการวางแผนภาพวาดแห่งอนาคตเพื่อการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย. วารสารนักบริหาร, 35(2), 107-110.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). การจัดการการตลาดและสื่อสังคมออนไลน์แหล่งท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ OTOP นวัตวิถี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนครื่องปั้นดินเผาเคลือบศิลาดล ตำบลสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม, วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(3), 90-103.
ณัฐพร ไข่มุก และอรอุษา สุวรรณประเทศ. (2563). จากภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่สำรับอาหารเพื่อการท่องเที่ยวกรณีศึกษาชุมชนบ้านทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย และชุมชนบ้านวังวน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 13(1), 109-127.
ฤทัยภัทร พิมลศรี และวศิน ปัญญาวุธตระกูล. (2558). ทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัยเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน. วารสารอายธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 6(2), 197-226.
ธิติมา ทิพย์สังวาลย์. (2544). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา ตำบลทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นิคม พลาพล. (2552). การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษา เครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประกรณ์ วิไล และอภิญญา วิไล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านในภาคเหนือประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืนครั้งที่4 (น.82-91). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ฝอยฝา ชุติดำรง. (2558). ภาพอนาคตเพื่อการวางแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 11(1), 114-135
วันวิสา ทองแจ่ม, ปราณี นวลทุ่ง, ภูริณัฐร์ โชติวรรณ, รัตติกาล โสภัคค์ศรีกุล, และสยมพู นกหงษ์. (2561). พลวัตภูมิปัญญาในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา: กรณีศึกษาเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง ตำบลทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่5 (น. 1160-1167). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สุจินต์ เพิ่มพูน. (2551). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุธาสินี เอี่ยมสืบทับ. (2558). การพึ่งตนเองในกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา กรณีศึกษาผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาในตำบลทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานจังหวัดสุโขทัย. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดสุโขทัย (พ.ศ.2566-2570). สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2565, จาก https://nongyapong.go.th/index/load_data/?doc=12015
อัมพร คำมี และกรรณิกา อุสสาสาร. (2565). การพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบนฐานทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาหมู่บ้านหน้าวัดลาย อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับนักศึกษาครั้งที่ 2 (น. 479-487). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง