การศึกษาระบบการท่องเที่ยวชุมชนบ้านถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
คำสำคัญ:
ระบบการท่องเที่ยว , ชุมชนบ้านถ้ำเสือ , จังหวัดกระบี่บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพเชิงปรากฏการณ์วิทยานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระบบการท่องเที่ยวชุมชนบ้านถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร บทความ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของชุมชน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการอุปมานสำหรับความเที่ยงตรงของข้อมูลใช้ 2 เทคนิค คือ การใช้เทคนิคสามเส้าแบบวิธีการที่แตกต่างและการใช้เทคนิคสามเส้าของผู้ให้ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบด้านมนุษย์ นักท่องเที่ยวหลักของชุมชนบ้านถ้ำเสือ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ 2) องค์ประกอบด้านภูมิศาสตร์ ชุมชนบ้านถ้ำเสือมีการปรับใช้รูปแบบการท่องเที่ยวเสมือนจริงกับการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าถึงชุมชนบ้านถ้ำเสือด้วยวิธีการที่หลากหลาย 3) องค์ประกอบด้านอุตสาหกรรม ชุมชนบ้านถ้ำเสือให้บริการที่พักแรมและกิจกรรมนันทนาการ ชุมชนบ้านถ้ำเสือมีการบริการเชิงนันทนาการกลุ่ม ชุมชนบ้านถ้ำเสือได้แบ่งโซนการท่องเที่ยว โดยชุมชนออกเป็น 5 โซนการเรียนรู้ที่สำคัญ ชุมชนบ้านถ้ำเสือมีศูนย์โอทอปเพื่อการท่องเที่ยว และ4) องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ชุมชนบ้านถ้ำเสือได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้กับการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านถ้ำเสือส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรมอาชีพ ชุมชนบ้านถ้ำเสือมีเครือข่ายการดำเนินงานทางการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านถ้ำเสือมีกฎระเบียบที่บังคับใช้เป็นข้อตกลงร่วมกัน
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). โครงการเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (รายงานฉบับสมบูรณ์). สืบค้น 25 มีนาคม 2565, จาก https://mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=12288
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย ไตรมาส 1/2563. สืบค้น 5 ตุลาคม 2565, จากhttps://www.mots.go.th/download/TourismEconomicReport/4-1TourismEconomicVol4.pdf
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). แนะนำปลายทางกระบี่. สืบค้น 25 มีนาคม 2565, จาก https://thai.tourismthailand.org/Destinations/Provinces/กระบี่/344
คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ สำนักงานจังหวัดกระบี่. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2561-2565 ฉบับทบทวนรอบปี พ.ศ. 2564. สืบค้น 25 มีนาคม 2565, จาก http://krabi.thailocallink.com/files/com_news_develop_plan/2020-08_5346d4ead2 38117.pdf
คมกฤช จันทรัตน์. (2562). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาวิสาหกิจท่องเที่ยวชุมชนบ้านถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จตุรพร อร่าม. (2565). ชุมชนบ้านถ้ำเสือ (บ้านไร่ปรีดาโฮมสเตย์). สัมภาษณ์วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565.
จิราพร ไชยเชนทร์. (2563). ชุมชนคลองร้อยสายกับทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(2), 13-14.
จุฑาพร บุญคีรีรัฐ และณัฐภาณี จริตไทย. (2563). การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการท่องเที่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศบนโลกดิจิทัล. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 285-301.
จำเนียร จวงตระกูล. (2561). ปัญหาการกำหนดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(2), 1-16.
ณัฐกานต์ รองทอง และวงศ์วิภา โถสุวรรณจินดา. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพรูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนบ้านสาขลา อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(1), 109-129.
ประนอม การชะนันท์. (2562). ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 898-915.
ประเมิน กาฬภักดี. (2564). แนวทางการจัดการทรัพยากรป่าชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น, 5(1), 1-27.
พีรวิชญ์ สิงฆาฬะ, ภานุพงศ์ อุบัวบล, ศราวุธ ตันติวัฒนสุทธิ, เฉลิมเกียรติ เฟื่องแก้ว และอธิป จันทร์สุริย์. (2563). การศึกษาระบบการท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(2), 35-50.
รัตติยา พรมกัลป์, พระเทพปริยัติเมธี และนัยนา เกิดวิชัย. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 21(1), 13-28.
วสันต์ กานต์วรรัตน์. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการที่พักรีสอร์ทของนักท่องเที่ยวในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 159-170.
ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร, โอชัญญา บัวธรรม และชัชชญา ยอดสุวรรณ. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(1), 249-250.
อธิป จันทร์สุริย์, ณฐกมล แก้วกุลสี และณัฐลดา ศิริแสน. (2564). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามองค์ประกอบการท่องเที่ยวชุมชนมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม, 20(2), 1-21.
อรอนงค์ เฉียบแหลม และจันทิรา รัตนรัตน์. (2562). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการเดินทางมาเยือนชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 8(4), 42-54.
อรุณี อ่อนสวัสดิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Buhalis, D. (2000). Strategic use of information technologies in the tourism industry. Tourism Management. Essex: Pearson Education.
Denzin, N. (1978). Sociological Methods: A Sourcebook. NY: McGraw Hill.
Hudman, L. E., & Hawkins. (1989). Tourism in Contemporary Society. Prentice Hall: New Jersey.
Leiper, N. (1990). Tourism systems: An interdisciplinary perspective (Occasional Papers No.2). Palmerston North: Department of Management Systems, Massey University.
Leiper, N. (1995). Tourism Management. Australia: RMIT Press, Collingwood.
Mill, R. C., & Morrison, A. M. (2002). The Tourism System: An Introductory Text, Upper Saddle River. London: Kendall Hunt.
Sangpikul, A. (2017). Factors of destination quality influencing tourists’ destination loyalty in visiting Phuket. Journal of Modern Management, 15(2), 159-167.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง