ความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ในจังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ณอร แสงชนินทร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ภาศิริ เขตปิยรัตน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ศิริกานดา แหยมคง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ความได้เปรียบทางการแข่งขัน , การตัดสินใจ , ขนส่งโลจิสติกส์ในจังหวัดอุตรดิตถ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของความได้เปรียบทางการแข่งขันการตัดสินใจ และความได้เปรียบทางการแข่งขัน ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของธุรกิจขนส่ง
โลจิสติกส์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากร คือ ผู้ที่เคยใช้บริการของธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ในจังหวัดอุตรดิตถ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วย 6 วิธี Enter 

ผลการวิจัย พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็วอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านการสร้างความแตกต่าง และด้านการเป็นผู้นำด้านต้นทุน ตามลำดับ สำหรับการตัดสินใจเลือกใช้บริการ พบว่าด้านการตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านพฤติกรรมภายหลังการซื้อ และด้านการรับรู้ถึงความต้องการ ตามลำดับผลการการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ตัวแปรอิสระทุกตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  จำนวน 2 ตัวแปร คือ ด้านการมุ่งเฉพาะส่วนด้านการเป็นผู้นำด้านต้นทุน  ส่วนด้านการสร้างความแตกต่าง และด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็ว มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อธิบายค่าความผันแปรของความได้เปรียบทางการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการได้ร้อยละ 55.50 (R2 = 0.555)

Author Biographies

ณอร แสงชนินทร์, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

 

 

ภาศิริ เขตปิยรัตน์, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

 

 

ศิริกานดา แหยมคง, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

 

 

References

จิดาภา ง่วนเฮงเส็ง และจิราภรณ์ ขันทอง. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาการได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจขนส่งสินค้าทางถนนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. Journal of Nakhonratchasima College, 12(2), 126 – 137.

จันทร์เพ็ญ วรรณารักษ์, วิชิต อู่อ้น และกัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2560). แบบจำลองความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ในประเทศไทย. วารสารการประชุมวิชาการระดับชาติ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีวิชาการ 2017”, 2, 138-149.

ไทยโพสต์. (2564). อีคอมเมิร์ซไทยปี 2564 มูลค่าพุ่งสูงแตะ 4 ล้านล้านบาท. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.thaipost.net/main/detail/119707

นิตยา สุภาภรณ์. (2564). ความสามารถและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 43 – 52.

ประยงค์ มีใจซื่อ. (2558). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์. (2554). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

วสุธิดา นักเกษม และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการ ในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 2148 – 2167.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิญกิตติ, องอาจ ปทะวานิช, รังสรรค์ ประเสริฐศรี, ลัทธิกาล ศรีวะรมย์,

จิรศักดิ์ จิยะจันทน์, ชวลิต และพรพิมล วิริยะกุล. (2546). การจัดการเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: Diamond In Business World.

สมยศ นาวีการ. (2551). การบริหารเชิงกลยุทธ์ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์บรรณกิจ 1991.

Blackwell, R., Miniard, P., & Engel, J. (2006). Consumer behavior (10th ed.). New York: Thomson South-Western.

Cochran, W.G. (1963). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice- hall.

Nunnally, J. C. B., I.H. (1994). The Assessment of Reliability. Psychometric Theory, 3, 248-292.

Porter, M. E., & Millar, V. E. (1985). How information gives you competitive advantage: Harvard Business Review, Reprint Service.

Porter, M.E. (1985). Competitive Advantage. New York: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-17

How to Cite