การบริหารจัดการงานวิเทศสัมพันธ์ในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้แต่ง

  • ภูรดา ประเสริฐศรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สกล เกิดผล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุวารีย์ วงศ์วัฒนา ข้าราชการเกษียณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สรียาภรณ์ ประเสริฐศรี คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธนพร บัวรอด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อรรธพร เลิศอร่ามแสง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

วิเทศสัมพันธ์ , การบริหารจัดการ , บทบาทของงานวิเทศสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน บทบาท ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการงานวิเทศสัมพันธ์ และแนวทางการบริหารจัดการงานวิเทศสัมพันธ์ในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน ในส่วนงานวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 102 คน ใช้แบบสอบถามที่ความเชื่อมั่น 0.922 เป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ อาจารย์ และเจ้าหน้าที่สังกัดคณะที่เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิเทศสัมพันธ์ รวม 20 คน ใช้การประชุมกลุ่ม (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานงานวิเทศสัมพันธ์ระดับบัณฑิตศึกษา มีค่าเฉลี่ย 3.74 โดยเล็งเห็นความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของงานวิเทศสัมพันธ์ และในอดีตมีนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากประเทศอาเซียนด้วย ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน มีค่าเฉลี่ย 4.17 ปัจจัยสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก มีค่าเฉลี่ย 4.14 ปัจจัยสำคัญ คือระดับรายได้ของประชากร นอกจากนี้ยังพบว่า แนวทางการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ย 4.20 ควรมีการติดตามตรวจสอบการทำงานตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ รวมถึงเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ และบทบาทงานวิเทศสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ย 4.11 โดยมีบทบาทในการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาและสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ และสนับสนุนการศึกษาดูงาน การฝึกงาน การจัดการเรียนการสอนกับต่างประเทศ

References

ชฎาพร โชติรดาภาณ์. (2559). วิเทศสัมพันธ์: กาลเวลาที่ต้องลอกคราบ. วารสารพิกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 14(1), 163-183.

ชฎาพร โชติรดาภาณ์. (2560). จุดยืนคนวิเทศสัมพันธ์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 11(3), 197-203.

โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ทองดี ชีวพฤกษ์. (2551). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิเทศสัมพันธ์ของสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บดินทร์ รัศมีเทศ. (2558). วิเทศสัมพันธ์ มก.: ความท้าทายและเส้นทางสู่ความเป็นนานาชาติ Internationalization and Global University Network. โดย Dr. Gilbert Palaoro, Expert International Project Development and Education.

บุณลดา คุณาเวชกิจ, จุฑามาศ อ้วนแก้ว และกิ่งกาญน์ นาคแก้ว. (2564). หลักการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชฏพิบูลสงคราม, 3(1), 107-119.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2560). การบูรณาการพุทธธรรมเพื่อนำไปใช้ในการบริหารงานภาครัฐอย่างลุ่มลึกในการศึกษาระดับสูงของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 69-84.

พรทิพย์ กาญจนนิยต. (2552). ทุนฟุลไบรท์ โดยมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์).

ภูวนิดา คุณผลิน. (2550). การบริหารการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครแบบบูรณาการ(วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วันชัย มีชาติ. (2552). การบริหารองค์กร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภาดา คุปตานนท์. (2551). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ: เทคนิคการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2554). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนิวัช แก้วจำนงค์. (2555). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

อิศรา สุริยกุล ณ อยุธยา. (2556). การศึกษาแนวทางการการดำเนินงานของงานวิเทศสัมพันธ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอน แก่น.

Bartol K. M., & Martin, D. C. (1998). Change management & management. New York: Englewood Prentice-Hall.

Jurevicius, O. (2022). McKinsey 7S Model. Retrieved August 16, 2022, from

https://www.strategicmanagementinsight.com/tools/mckinsey-7s-model-framework.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-23

How to Cite

ประเสริฐศรี ภ., เกิดผล ส. ., วงศ์วัฒนา ส., ประเสริฐศรี ส., บัวรอด ธ., & เลิศอร่ามแสง อ. (2023). การบริหารจัดการงานวิเทศสัมพันธ์ในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 5(2), 59–76. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/262769