ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการทำงานที่บ้านของบุคลากรกรมบัญชีกลาง
คำสำคัญ:
ทัศนคติต่อการทำงานที่บ้าน , บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง , การรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรม , ความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการทำงานที่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการทำงานที่บ้าน และศึกษาบรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง และเพื่อศึกษาการรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรมที่มีผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการทำงานที่บ้านของบุคลากร กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ บุคลากรกรมบัญชีกลางส่วนกลางในกรุงเทพมหานครที่ทำงานที่บ้าน จำนวน 311 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) ทัศนคติต่อการทำงานที่บ้านมีผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการทำงานที่บ้านของบุคลากร คือ ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้ และปัจจัยด้านความเข้ากันได้
(2) บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิงมีผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการทำงานที่บ้านของบุคลากร คือ ปัจจัยด้านบรรทัดฐานที่ทำงาน และปัจจัยด้านบรรทัดฐานที่บ้าน และ (3) การรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรมมีผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการทำงานที่บ้านของบุคลากร คือ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยต่อการใช้และปัจจัยด้านนโยบายรัฐบาล โดยปัจจัยที่ร่วมกันพยากรณ์ความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการทำงานที่บ้านได้มากที่สุด คือ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง ปัจจัยด้านบรรทัดฐานที่ทำงาน และปัจจัยด้านบรรทัดฐานที่บ้าน
References
กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมบัญชีกลาง. (2563). ข้อมูลจำนวนบุคลากรกรมบัญชีกลาง เฉพาะปฏิบัติงาน อยู่ส่วนกลางที่ทำงานที่บ้าน. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.cgd.go.th.
ชาลิณี ฐิติโชติพณิชย์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบการทำงานทางไกล (Telework) ของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิธินาถ วงศ์สวัสดิ์ และปวีณา คาพุกกะ. (2557). ความตั้งใจของผู้ซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต. สมาคมนักวิจัย, 2(19), 56-67.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3). (2563, 29 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 48 ง. หน้า 1.
พันธ์ศักดิ์ อาภาขจร. (2563). ทำงานจากบ้าน vs ทำงานในออฟฟิศ. สืบค้น 16 ตุลาคม 2563, จากhttps://www.isranews.org/article/isranews-article/88787-WFHHH.html.
ภัทรพงษ์ ยมนา. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและความตั้งใจนำระบบสำนักงานเสมือนมาใช้ในองค์กร(การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรัทยา เชี่ยววัฒนะกุล. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับใช้สำนักงานเสมือน (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วลัญช์ แก้วสัมพันธ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและการยอมรับการทำงานระยะไกล. กรณีศึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์ข้อมูล COVID-19. (2563). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2563, จาก https://web.facebook.com/informationcovid19.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ศัพท์ชวนรู้. สืบค้น 16 ตุลาคม 2563, จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/terminology.
Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50, 179-211.
Ake Exorcist. (ม.ป.ป.). การ Work from Home เป็นบางครั้งบางคราในบริษัท Software ยุคใหม่. สืบค้น 16 ตุลาคม 2563, จาก https://medium.com/@akexorcist
Clark II, S. D., & Olfman, L. (1999). Influencing the decision to telework-testing the simplified decision model. In Proceedings of the 1999 ACM SIGCPR conference on Computer personnel research (pp. 65-72). New York: Association for Computing Machinery.
Pearce, J. A. (2009). Successful corporate telecommuting with technology considerations for late adopters. Organizational Dynamics, 38(1), 16-25.
Venkatesh, V., Brown, S. A., Maruping, L. M., & Bala, H. (2008). Predicting different conceptualizations of system use: the competing roles of behavioral intention, facilitating conditions, and behavioral expectation. MIS quarterly, 483-502.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introduction Analysis (3rd ed.). New York: Harper & Rows Publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง