การพัฒนาข้อกำหนดเฉพาะการจัดการธุรกิจในอุตสาหกรรมเซรามิก จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • อนุรักษ์ อาทิตย์กวิน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • อารยา อริยา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • กรรณิการ์ สายเทพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • จีราภรณ์ พงศ์พันพัฒนะ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • จารุวรรณ ลิมป์ไพบูลย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ณัฏฐ์ดนัย ประเทืองบริบูรณ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

ข้อกำหนดเฉพาะ, การจัดการธุรกิจ, อุตสาหกรรมเซรามิก

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาข้อกำหนดเฉพาะการจัดการธุรกิจในอุตสาหกรรมเซรามิกจังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาข้อกำหนดเฉพาะการจัดการธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเซรามิกในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ ผู้ประกอบการโรงงานเซรามิก นักวิชาการ และผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการประเมินธุรกิจ  ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อย และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา

ผลการวิจัยพบว่าข้อกำหนดเฉพาะการจัดการธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเซรามิก 3 หมวดหลักดังต่อไปนี้ หมวดที่ 1 หมวดคุณภาพด้านการตลาด หมวดที่ 2 หมวดคุณภาพด้านบริหารจัดการธุรกิจ และหมวดที่ 3 หมวดคุณภาพด้านผลประกอบการ โดยมีเกณฑ์ในการประเมินจำนวน 41 ข้อ

ผลการประชุมกลุ่มย่อยพบว่าผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะได้รับรองมาตรฐานลำปางแสตนดาร์ต้องได้รับคะแนนในการประเมินตั้งแต่ 651 คะแนนขึ้นไป และเมื่อนำข้อกำหนดเฉพาะไปทดลองใช้กับกลุ่มผู้ประกอบการตัวอย่างพบว่า ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านประโยชน์จากการใช้ข้อกำหนดเฉพาะ ด้านความเข้าใจในข้อกำหนดเฉพาะ และด้านความตั้งใจในการใช้ข้อกำหนดเพื่อให้ได้รับรองลำปางแสตนดาร์ด ตามลำดับ

References

กรไชย ภรลภัสรชกร. (2565). นวัตกรรมการบัญชีเพื่อการจัดการเชิงกลยุทธ์. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

พชรวรรณ สนธิมุล. (2560). แนวทางการยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมเซรามิกสมัยใหม่ให้ก้าวทันอุตสาหกรรมในอนาคต. OIE SHARE, 6 (68): 5 – 7

มาสิน จำแม่น, วิสุทธิ์ สุนทรกนกพงศ์ และณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14000 : 2001 ของโรงงานในพื้นที่ไอพี 5. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 519 – 526.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2563). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรม

สร้างสรรค์. (2562). รายชื่อโรงงานเซรามิก. สืบค้น 25 มกราคม 2562, จาก https://cim.dip.go.th/th/category/2017-03-03-02-37-41/2017-03-03-02-47-12

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Hansen, D. R., & Mowan, M. M. (2006). Managerial Accounting. U.S.A: SouthWestern.

Pambreni, Y., Khatibi, A., Azam, S., & Tham, J. (2019). The influence of total quality management toward organization performance. Management Science Letters, 9(9), 1397–1406.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

How to Cite

อินต๊ะขัน ไ., อาทิตย์กวิน อ. ., อริยา อ. ., สายเทพ ก. ., พงศ์พันพัฒนะ จ. ., ลิมป์ไพบูลย์ จ. ., & ประเทืองบริบูรณ์ ณ. . . (2022). การพัฒนาข้อกำหนดเฉพาะการจัดการธุรกิจในอุตสาหกรรมเซรามิก จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(2), 108–123. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/262270