ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวรถไฟ ในสถานการณ์โควิด-19
คำสำคัญ:
ท่องเที่ยวรถไฟ, การตัดสินใจท่องเที่ยว, การขนส่งนักท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเนิบช้า, โควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานของการท่องเที่ยวรถไฟในสถานการณ์โควิด-19 ในด้านปัจจัยการขนส่งและปัจจัยการท่องเที่ยวเนิบช้า และวิเคราะห์ปัจจัยการขนส่งนักท่องเที่ยวและปัจจัยการท่องเที่ยวเนิบช้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวรถไฟในสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 385 คน โดยวิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของคอแครน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธี Enter ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของการท่องเที่ยวรถไฟในสถานการณ์โควิด-19 ด้านปัจจัยการขนส่งนักท่องเที่ยว ( = 3.80, S.D. = 0.522) และปัจจัยการท่องเที่ยวเนิบช้า ( = 3.70, S.D. = 0.542) อยู่ในระดับดี ปัจจัยการขนส่งนักท่องเที่ยวและปัจจัยการท่องเที่ยวเนิบช้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวรถไฟในสถานการณ์โควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านการเอาใจใส่นักท่องเที่ยว (Beta = .314) และด้านความปลอดภัย (Beta = .283) มิติด้านระยะเวลา (Beta = .245) และมิติด้านอารมณ์ความรู้สึก (Beta = .201) และมิติด้านการลดความเคลือบแคลงระหว่างกัน (Beta = .132) มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวรถไฟในสถานการณ์โควิด-19
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). โครงการพัฒนาระบบและจัดทำบัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยว. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2561, จาก https://secretary.mots.go.th
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.mots.go.th/news/category/609
กรุงเทพธุรกิจ. (2564). ส่องเทรนด์ผู้บริโภค "Gen Y" และ "Gen Z" ที่แบรนด์ไทยต้องรู้. ”. สืบค้น 21 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/973746
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). Amazing Thailand. สืบค้น 27 มิถุนายน 2565, จาก
https://www.tatnewsthai.org/index.php
จุไรรัตน์ วงศ์เดือน และชิตพงษ์ อัยสานนท์. (2562). การจัดการประสิทธิภาพการขนส่งทางราง: กรณีศึกษาเส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 1(2), 52 – 63.
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2560). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุณยสฤษฎ์ อเนกสุข. (2560). การท่องเที่ยวแบบเนิบช้า (Slow travel): นิยามและแนวคิด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 26 – 47.
ผู้จัดการออนไลน์. (2565). เปิดแนวทางท่องเที่ยวด้วย “รถไฟ” แบบปลอดภัยจาก “โควิด”. สืบค้น 9 เมษายน 2565, จาก https://mgronline.com/qol/detail/9650000034484
พัชรียา แก้วชู. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบ New Normal หลังการแพร่ระบาดโควิด-19. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565, จากhttps://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-1/6114993619.pdf
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2552). ออกแบบเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
วัชระ ยี่สุ่นเทศ, ทศพร มะหะหมัด และเยาวลักษณ์ แซ่เลี่ยง. (2562). ปัจจัยการขนส่งสำหรับการท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 1 – 11.
ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ และอริยา พงษ์พานิช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกการเดินทางท่องเที่ยวไทยแบบปรกติใหม่. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 12 – 24.
สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม. (2565). การรถไฟแห่งประเทศไทย. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565, จากhttps://www.mot.go.th/about.html?id=13
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2565). สถานการณ์การท่องเที่ยวในวิกฤต COVID-19. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.cea.or.th/th/single-research/cultural-heritage-tourism-industry-covid-19
สุบัญชา ศรีสง่า และสมยศ วัฒนากมลชัย. (2564). โมเดลเชิงสาเหตุของความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวแบบเนิบช้าซ้ำโดยมีพฤติกรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 16(1), 56-66.
Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons.
Dall’Aglio, S., Nazzaruolo, A., & Zago, M. (2011). Guide lines for the development of the Slow Tourism project. Retrieved October 20, 2014, from http://www.slow-tourism.net/contentsite/images/WP_2-3_Slides_English.pdf.
Lumsdon, L. and Page, S. J. (2004). Tourism and Transport: Issues and Agenda for the New Millennium. London: Elsevier.
Nunnally, J. C. and Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.
World Health Organization. (2020). Coronavirus disease (COVID-2019) situation reports. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง