การประเมินผลและแนวทางส่งเสริมความปลอดภัยทางถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาพื้นที่ 10 จังหวัดของสำนักทางหลวงชนบทที่ 8 และ 10

ผู้แต่ง

  • ปรัชญา สังข์สมบูรณ์ บริษัท พลัส สตรอง จำกัด
  • จิระ บุรีคำ คณะบัญชีและธุรกิจดิจิทัล มหาวิทยาลัยพายัพ
  • จีรพงษ์ มหนิธิวงศ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ความปลอดภัยทางถนน, ทางหลวงท้องถิ่น, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กรมทางหลวงชนบท, แบบจำลองเส้นห่อหุ้ม

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการประเมินการดำเนินกิจกรรมความปลอดภัยทางถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้การสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและประเมินการดำเนินกิจกรรมความปลอดภัยทางถนน 2) รวบรวมอุปสรรค ปัญหา และ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินกิจกรรมฯขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ดูแลทางหลวงท้องถิ่น  และ 3) นำเสนอแนวทางการแก้ไขปรับปรุงสำหรับผู้มีส่วนร่วม ในลักษณะข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยมุ่งเน้นในด้านมาตรฐานวิศวกรรมความปลอดภัย การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนและการแก้ไขจุดเสี่ยง ในพื้นที่ศึกษา 10 จังหวัดภาคเหนือ ภายใต้การดูแลของสำนักทางหลวงชนบทที่ 8 และ สำนักทางหลวงชนบทที่ 10 โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 267 แห่ง และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารและผู้อำนวยการกองช่าง 23 แห่ง ประเมิน และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานด้วยแบบจำลองเส้นห่อหุ้ม เพื่อกำหนดปัจจัย จำแนกกลุ่ม และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ขับเคลื่อนให้มีการส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมด้านความปลอดภัยทางถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป

Author Biography

ปรัชญา สังข์สมบูรณ์, บริษัท พลัส สตรอง จำกัด

หัวหน้าโครงการ และกรรมการผู้จัดการ

References

กรมทางหลวงชนบท. (2554). แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการการพัฒนาวิศวกรรมความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2555-2560. กรุงเทพฯ: กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม.

จิระ บุรีคำ, ชัยนันท์ ใจวังเย็น และทักษิณ บุญต่อ. (2553). การศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิคการบำรุงรักษาทางหลวงท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจจากกรมทางหลวงชนบท : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการสถิติและสถิติประยุกต์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2553 โดย ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเครือข่ายวิจัยสถิติศาสตร์ ร่วมกับสมาคมสถิติแห่งประเทศไทย, 27 - 28 พฤษภาคม 2553.

ทวีป ชัยสมภพ และคณะ. (2551). การศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทวีศักดิ์ แตะกระโทก และคณะ. (2556). ร่างแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2556-2559. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.

Chicoine, D., S. Deller, and N. Walzer (1989). The Size Efficiency of Rural Governments: The Case of Low-Volume Rural Roads. The Journal of Federalism, 19(19), 127-138.

Deller, S. (1992). Production Efficiency in Local Government: A Parametric Approach, Public Finance, 47(1), 32-44.

Deller, S., D. Chicoine, and N. Walzer. (1988). Economies of Size and Scope in Rural Low-Volume Roads. Review of Economics and Statistics, 70(3), 459-465.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-19

How to Cite

สังข์สมบูรณ์ ป. ., บุรีคำ จ. ., & มหนิธิวงค์ จ. (2022). การประเมินผลและแนวทางส่งเสริมความปลอดภัยทางถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาพื้นที่ 10 จังหวัดของสำนักทางหลวงชนบทที่ 8 และ 10. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(2), 61–76. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/261237