การพัฒนาคู่มือการทำมะขามแช่อิ่ม เพื่อศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านปากน้ำปอย ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • บุษบา หินเธาว์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ณัฐธิดา แซ่ลี้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ปนัดดา จองคำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • รดามณี เกิดธารา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • วรัญญา สัววิเชียร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พงษ์ศักดิ์ คำจีน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • เจษฎา คงสัมมา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การพัฒนา , ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน , คู่มือ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ ศึกษาขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์  1. เพื่อออกแบบและผลิตคู่มือการทำมะขามแช่อิ่มเพื่อ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านปากน้ำปอย ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อสื่อคู่มือการทำมะขามแช่อิ่มเพื่อศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านปากน้ำปอย ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ปราชญ์ผู้ผลิตมะขามแช่อิ่ม ของหมู่ 16 จำนวน 5 ท่าน และกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตมะขามแช่อิ่ม จำนวน 40 คน ของหมู่ 16 บ้านปากน้ำปอย ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ แบบ สนทนากลุ่ม คู่มือการผลิตมะขามแช่อิ่ม แบบสังเกตการณ์มีส่วนร่วมในการอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตมะขามแช่อิ่ม แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของคู่มือการผลิตมะขามแช่อิ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบและพัฒนาคู่มือผลิตมะขามแช่อิ่ม มีจำนวน 16 หน้าและมีข้อมูล สำคัญคือ 1. เนื้อหารายละเอียดเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำมะขามแช่อิ่ม 2. ภาพประกอบแต่ละขั้นตอนการ ผลิตมะขามแช่อิ่ม 3. รายละเอียดของการคำนวณต้นทุนจำหน่าย และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้า อบรมต่อคู่มือ มีค่าเฉลี่ยรวม 4.68 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจต่อข้อมูลจากคู่มือการทำมะขามแช่อิ่มไปประกอบอาชีพเสริมได้ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.83 รองลงมาคือความรู้จากคู่มือ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลิตมะขามแช่อิ่มในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.80 และสามารถนำเนื้อหาจากคู่มือไปเผยแพร่ต่อได้ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.78

References

เครือวัลย์ เผ่าผึ้ง. (2548). การพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนสื่อความสำหรับครูภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ธนกร ปฐมวณิชกุล. (2563). การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ผสานความจริงเสริมเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.วารสารสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 58-76.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13).กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

บุศราภรณ์ หมั่นคำ. (2549). คู่มือการปฏิบัติงานทะเบียนและบริการการศึกษา สำหรับเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยชินวัตร. (สารนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พบพร เอี่ยมใส, ธนกิจ โคกทอง, และศุภวิชญ์ มาสาซ้าย. (2560). การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่ในโครงการพระราชดำริ บ้านวัดใหม่ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดกำแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต (น.387-395). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์. (2530). การผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ยุพา สุภากุล. (2540). การสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วิษณุ สุวรรณเพิ่ม. (2540). การตกแต่งต้นฉบับ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภัสวลี นิติเกษการสุนทร. (2546). หลักสำคัญของการสื่อสาร. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ Imprint..

สมศักดิ์ คล้ายสังข์. (2562). การพัฒนาสื่อวีดีทัศน์และสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการตลาดและการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระ บรมราชูปถัมภ์, 12(3), 285-296.

สรวิศ สอนสารี, เอกภูมิ บุญธรรม, เอกกฤษ แก้วเจริญ, วีรวุธ เลพล, มนตรี วงค์ศิริวิทยา, กฤษฎา อ้นอ้าย, วัชรากร ใจตรง. (2564). การเพิ่มรายได้ของกลุ่มเกษตรกรมะขามเปรี้ยวยักษ์ จังหวัดพิษณุโลกด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(2), 93-103

สุภัค ถาวรนิติกุล.(2557). แนวทางเพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ของคณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 1137-1148.

สุเทพ ไชยวุฒิ. (2560). การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการงานวิชาการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการบริหารการศึกษา). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

สุมาลี สังข์ศรี. (2553). การเขียนคู่มือ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Samuel L. Becker . 1972. Discovering Mass Communication. Illinois: Scott Foresman and Company Glenview.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-01

How to Cite