การศึกษาความคิดเห็นของนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อคุณภาพการให้บริการรถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • ประทีป แก้วกระจ่าง

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการรถไฟฟ้า , ความคิดเห็นของนิสิต

บทคัดย่อ

         ปัจจุบันได้มีการใช้แนวคิดนวัตกรรมสีเขียวเพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมไม่ให้เสื่อมโทรมกำลังแพร่หลายมากขึ้น จึงได้มีโครงการ Green University ที่หลายมหาวิทยาลัยตอบรับกับนโยบายนี้รวมถึงมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ได้กำหนดเป้าหมายจะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีสภาพแวดล้อม บรรยากาศและการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสม สงบ สันติ เป็นสังคมแห่งความเอื้อต่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เป็นตัวอย่างที่ดี เป็นที่พึ่งพิงของประชาชนและสังคมได้ และทำให้เกิดโครงการขนส่งมวลชน มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นขนส่งรถไฟฟ้า ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พัฒนางานวิจัยนี้ขึ้น เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อคุณภาพการให้บริการรถไฟฟ้าของหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2562 โดยสำรวจจากขนาดกลุ่มตัวอย่าง 350 คน ใช้แบบสอบถามแบบสอบถาม แบบ 5 Likert Scale วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้ผลสรุปการวิจัยดังนี้

            จากผลการศึกษานิสิตชั้นปีที่ 1 ที่มีความคิดเห็นของมหาวิทยาลัยนเรศวรรวมทั้งหมด 7 ปัจจัย โดยรวมมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการรถไฟฟ้าในระดับ ปานกลาง และแยกตามองค์ประกอบ พบว่า 1) ด้านความสะดวกรวดเร็ว 2)ด้านความสุภาพของพนักงานของพนักงานขับรถ  3) ด้านความสามารถของพนักงานขับรถ และ4) ด้านลักษณะกับสมรรถนะของรถไฟฟ้า คุณภาพการบริการอยู่ในระดับ ปานกลาง 5) ด้านการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะ 6) ด้านความรู้ของพนักงานขับรถ และ7) ด้านความปลอดภัยในการใช้บริการ คุณภาพการบริการอยู่ในระดับ มาก

References

กรมการขนส่งทางบก. (2563). รายงานสรุปอุบัติเหติุรถโดยสารสาธารณะประจำเดือนมีีนาคม พ.ศ. 2563.

สืบค้นเมื่อ 12 ธันนวาคม 2563 จาก https://www.dlt.go.th/site/ltsb/m-ews/3937/view.php?_ did=24187

กฤติยา พุทธวงค์. (2558). ปัจจัยประสบการณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่ใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศในจังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กองบริการการศึกษา. (2563). สถิติข้อมูลการดำเนินงานตามพันธกิจของกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร 5 ปีย้อนหลัง ระหว่างปีการศึกษา 2559 – 2563 / ปีงบประมาณ 2558 – 2562 (รายงานการวิเคราะห์). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร

กองอาคารสถานที่มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2563). โครงการขนส่งมลชน สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2562 จาก https://shorturl.asia/GbTtr

ฑรัญภัค เศรษฐีธร. (2560). การศึกษาการตัดสินใจเลือกใช้บริการรถโดยสารสาธารณะของนักศึกษาในเขตบางเขน จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม, 6(18), 218-233

ณัฐภัทร วัฒนถาวร และชุติมาวดี ทองจีน. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอ า ห า ร ค ลี น ฟู๊ ด ข อ ง ป ร ะ ช า ก ร ใ นกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้านบริหารธุรกิจราชมงคลพระนครและการนำเสนอผลงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (236-250). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช, (2558). การประยุกต์กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 11(1), 80-97

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: บริษัทวี.อินเตอร์พรินท์

นภาพร ยอพระกลิ่น และศิริพร นุชสําเนียง. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของพนักงานขับรถประจําโรงพยาบาลชุมชนในระบบส่งต่อ (Referral System) กรณีศึกษา เฉพาะเขตสุขภาพที่ 6. วารสาร มจร พุทธปญญาปริทรรศน์, 5(3), 67-78.

ปานทิพย์ รอดเจริญ. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศชั้นหนึ่ง ของบริษัท ขนส่งจำกัด (999)เส้นทางกรุงเทพ – ภาคใต้. (หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ). ค้นคว้าอิสระ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ยุวดี ศิริยทรัพย์ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2564). เรื่องเล่า: ชีวิตติดล้อกับเส้นทางสู่การเป็นพนักงานขับรถบรรทุกที่ได้รับรางวัลสุภาพบุรุษนักขับ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 39(2), 41-63

สิทธา คำประสิทธิ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถทัวร์นครชัยแอร์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุชาติ เซี่ยงฉิน, ธีรวัช บุณยโสภณ, ชาญชัย ทองประสิทธ์, ภาวิณี บุณยโสภณ, กัลป์ยกร ไพบูลย์, ทวีศักดิ์ รูปสิงห์, และสมนึก วิสุทธิแพทย์. (2560). การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้รถไฟฟ้าสำหรับการขนส่งมวลชนระยะไกล. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 27(4). 855-870

สุวิมล จันโททัย. (2564). แนวทางการพัฒนาการให้บริการแกร็บแท็กซี่กรณีศึกษา:เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 724-736.

เสาวภา ลีลานุวงศ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบินไทยไลอ้อนแอร์(Thai Lion Air). (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อภินันท์ สีม่วงงาม. (2558). ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานกับโอกาสในการเป็นหาวิทยาลัยเขียว. วารสารมทร.อีสานฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 8(3), 137-145

Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management.New York: McGraw-Hill Book Company Inc.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rd Ed. New York. Harper and Row. Publications. Vroom, H. V. (1967). Work and Motivation.

UI GreenMetric World University Ranking. (2013). Criteria & Indicator. Retrieved April 30, 2022, from https://greenmetric.ui.ac.id/rankings/overall-rankings-2013

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-01

How to Cite

แก้วกระจ่าง ป. (2022). การศึกษาความคิดเห็นของนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อคุณภาพการให้บริการรถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(1), 106–119. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/258014