รูปแบบกลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้ออย่างต่อเนื่อง ของผลิตภัณฑ์กล้วยอบเนย อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ธัมมะทินนา ศรีสุพรรณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พรสวัสดิ์ มงคลชัยอรัญญา ธุรกิจส่วนตัว จังหวัดนครสวรรค์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การตลาด, ความตั้งใจซื้ออย่างต่อเนื่อง, กล้วยอบเนย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคกล้วยอบเนยของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสุโขทัย และศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความตั้งใจซื้ออย่างต่อเนื่องของผลิตภัณฑ์กล้วยอบเนยในในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับผู้บริโภคกล้วยอบเนยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัยจำนวน 385 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ การวิจัยพบว่า พฤติกรรมการบริโภคกล้วยอบเนยของผู้บริโภคอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับผลการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ พบว่า ค่าอิทธิพลของตัวแปรต้นทั้งหมดที่ประกอบด้วย กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ด้านบรรจุภัณฑ์ กลยุทธ์ด้านราคา กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่าย และกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาดสามารถร่วมกันพยากรณ์ความตั้งใจซื้ออย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคได้ร้อยละ 63.20 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคมากที่สุดคือ กลยุทธ์ด้านบรรจุภัณฑ์ กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่าย และกลยุทธ์ด้านราคา ตามลำดับ

References

กิตติมา จึงสุวดี. (2561). ศึกษาแนวทางการปรับกลยุทธ์การบริหารของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(1), 160-184.

บุญฑวรรณ วิงวอน, อัจฉราภรณ์ วรรณมะกอก และอัจฉรา เมฆสุวรรณ. (2557). แนวทางการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่ากิจการวิสาหกิจขนาดย่อมอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(1), 38-55.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). กลยุทธ์การขยายตลาดกล้วยอบเนยภายในประเทศ. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.oae.go.th/ewtadmin/ewt/oae_baer/ewt_news.php?nid=381&filename=iex

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). กล้วยอบเนย: ศักย์ภาพการตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.kasikornresearch.com/TH/KEcon%20Anlysis/Pages/ViewSummary.aspx?docid=9215

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2. (2562). หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้น 2 สิงหาคม 2562, จาก https://otopphitsanulok.wordpress.com/5-8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7/

วัฒน์จิรชัย เวชชนินนาท. ( 2557). การพัฒนารูปแบบส่วนประสมทางการตลาดของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลผาสุก อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ การประชุมวิชาการ มหาสารคามวิจัยครั้งที่ 10 : 271-283.

วราพร โภชน์เกาะ. (2558). การพัฒนาศักยภาพการตลาดของกลุ่มชุมชนบ้านโพนสูง ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 : 529-539.

อัญชลี รักอริยะธรรม และสุวรรณา พลอยศรี. (2559). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขาดย่อมในเขตภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(2), 10-31.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Gwebu, K. L., Wang, J., & Guo, L. (2014). Continued usage intention of multifunctional friend networking services: A test of a dual-process model using Facebook. Decision Support Systems, 1, 1-12.

Kotler, P., and Keller, K.L. (2012). Marketing Management. (14th ed.). Singapore : Prentice - Hall, Inc.

Kotler, P. & Armstrong, G., (2014). Principles of Marketing. (15th ed.). United States of America: Courier / Kendallville.Prentice - Hall, Inc.

McCarthy, E. Jerome. (1960). Basic Marketing: A managerial Approach. (1st ed) . Homewood: Illinois., Richard D. Irwin, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-22 — Updated on 2022-01-22

Versions

How to Cite