การรับรู้สภาพปัจจุบันและความคาดหวังของอาจารย์และนักศึกษา ต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
คำสำคัญ:
การรับรู้สภาพปัจจุบัน, ความคาดหวัง, พันธกิจ, การดำเนินงาน, คณะวิทยาการจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้สภาพปัจจุบันและความคาดหวังของอาจารย์และนักศึกษาต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการรับรู้สภาพปัจจุบันและความคาดหวังของอาจารย์และนักศึกษาต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สภาพปัจจุบันกับความคาดหวังของอาจารย์และนักศึกษาต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์มีการรับรู้สภาพปัจจุบันต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และมีความคาดหวังอยู่ในระดับมาก สำหรับนักศึกษามีการรับรู้สภาพปัจจุบันและความคาดหวังต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง
การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการรับรู้สภาพปัจจุบันและความคาดหวังของอาจารย์ต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามโดยภาพรวมระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ประสบการณ์สอน และกลุ่มสาขาวิชา พบว่าไม่แตกต่างกัน และความคาดหวังของนักศึกษาต่อการดำเนินงานพบว่า เพศ สาขาวิชา และระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน
การรับรู้สภาพปัจจุบันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความคาดหวังในอนาคตของอาจารย์ต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามโดยภาพรวมอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.492 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ สำหรับนักศึกษาการรับรู้สภาพปัจจุบันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความคาดหวังในอนาคตต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในภาพรวม อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.881 ซึ่งอยู่ในระดับมาก
References
ชไมพร วดีศิริศักดิ. (2552). ความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนทีมีต่อ บทบาทตามนโยบายการพัฒนาของเทศบาลตําบลท่าอุเทน อําเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ฐิติมา รุ่งทัพพ่วง. (2555). สภาพปัจจุบันและความคาดหวังการให้บริการนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของศูนย์บัณฑิตศึกษาภาคพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลยเกษตรศาสตร์.
ปราณี หลำเบ็ญสะ: เอกสารประกอบการอบรม. สาขาการวัดและประเมินผล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, สืบค้น 30 มิถุนายน 2564, จาก http://edu.yru.ac.th/evaluate/attach/1465551003
พัชนี เชยจรรยา, เมตตา กฤตวิทย์ และถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2534). แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัชริน หนูเจริญ. (2555). การบริหารงานของเทศบาลตำบลเวียงเทิงกับความคาดหวังของประชาชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สกาวเดือน พิมพิศาล. (2562). สภาพปัจจุบันและความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการในยุคดิจิทัลของสำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
สุพัน สวัสดิผล. (2548). สภาพและความคาดหวังต่อการมีส่วนร่วมต่อการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำลในจังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
อดิศร แสนเมือง. (2555). สภาพปัจจุบันและความคาดหวังตามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง