ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการของผู้มีส่วนร่วม ด้านประธาน ฝ่ายบริหาร คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ กับความสม่ำเสมอของกำไร
คำสำคัญ:
การกำกับดูแลกิจการ, ผู้มีส่วนร่วม, ความสม่ำเสมอของกำไรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำกับดูแลกิจการในส่วนของโครงสร้างและความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านประธานฝ่ายบริหาร คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการตรวจสอบ กับความสม่ำเสมอของกำไร เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จากกิจการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 332 บริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยของข้อมูลสำหรับ Panel data
ผลการวิจัยพบว่า การกำกับดูแลกิจการด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีโครงสร้างของประธานฝ่ายบริหารเป็นประธานคณะกรรมการบริหารด้วยในสัดส่วนร้อยละ 67.80 ส่วนผู้บริหารกิจการเข้าไปเป็นคณะกรรมการบริหารด้วยในสัดส่วนกว่าร้อยละ 98.40 นอกจากนี้พบว่า มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเฉลี่ยบริษัทละ 3 คน ในด้านความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอของกำไรพบว่ามีเพียงตัวแปรด้านจำนวนของคณะกรรมการตรวจสอบตัวแปรเดียว ที่มีนัยสำคัญทางสถิติและมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับความสม่ำเสมอของกำไร
References
บรรษัทภิบาลแห่งชาติ. (2554). ความหมายของการกำกับดูแลกิจการ. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2564, จาก http://www.cgthailand.org/SetCG/about/about.html
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย. (2552). โครงการประกาศเกียรติคุณคณะกรรมการแห่งปี 2551/52. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2564, จาก http://www.thai-iod.com/th/awards.asp
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2564, จาก http://www.sec.or.th/CGCode
Bagaisa, O.A. and Aljaaidi, K.S. (2020). Corporate governance attributes and firm performance in Saudi Arabia. Accounting, 6, 923–930.
Baxter, P. J. (2007). Audit committees and financial reporting quality. Doctoral dissertation, Ph.D., University of Southern Queensland, Queensland.
Black, B.S., Gavalho, A.G.D. and Gorga, E. (2010). Corporate governance in Brazil. Emerging Markets Review, 11, 21-38.
Dechow, P.M. and Dichev, I.D. (2002). The quality of accruals and earnings : The role of accrual estimation errors. The Accounting Review, 77 (Supplement), 35-59.
Henry, D. (2010). Agency costs, ownership structure and corporate governance compliance: A private contracting perspective. Pacific-Basin Finance Journal, 18(1), 24-46
Jensen, M.C. (1994). The modern industrial revolution, exit, and the failure of internal control systems. Journal of Applied Corporate Finance, 4(6), 43-58.
Jensen, M.C. and Meckling, W.H. (1976). Theory of the firm: managerial behavior, agency costs and ownership structure. Journal of Financial Economics, 4(3), 305-360.
Martin-Reyna , J.M. S. and. Duran-Encalada, J. A. (2012). The relationship among family business, corporate governance and firm performance: Evidence from the Mexican stock exchange. Journal of Family Business Strategy, 3, 106–117.
Roslinda, (2009). The relationship between corporate governance and accounting conservatism. Doctoral dissertation Ph.D., The University of New South Wales, New South Wales.
Schipper, K. and Vincent, L. (2003). Earnings quality. Accounting Horizons, Supplement, 97-110.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง