คุณภาพที่รับรู้ได้ เนื้อหาที่ธุรกิจสร้าง และเนื้อหาที่ลูกค้าสร้าง กับความภักดีของลูกค้าในธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพ
คำสำคัญ:
คุณภาพที่รับรู้ได้, เนื้อหาที่ธุรกิจสร้าง, เนื้อหาที่ลูกค้าสร้าง, ความภักดีของลูกค้าบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพที่รับรู้ได้ เนื้อหาที่ธุรกิจสร้าง และเนื้อหา ที่ลูกค้าสร้าง กับความภักดีของลูกค้าในธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพในจังหวัดพิษณุโลกที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับลูกค้าของร้านอาหารเพื่อสุขภาพในจังหวัดพิษณุโลกที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์จำนวน 385 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านเนื้อหาที่ธุรกิจสร้างอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านเนื้อหาที่ลูกค้าสร้าง คุณภาพที่รับรู้ได้ และความภักดีของลูกค้าอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ สำหรับผลการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรต้นทั้งหมดที่ประกอบด้วย ปัจจัยด้านคุณภาพที่รับรู้ได้ เนื้อหาที่ธุรกิจสร้าง และเนื้อหาที่ลูกค้าสร้างสามารถร่วมกันพยากรณ์ความภักดีของลูกค้าได้ร้อยละ 62.60 โดยปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีของลูกค้ามากที่สุดคือ ปัจจัยด้านเนื้อหาที่ลูกค้าสร้าง คุณภาพที่รับรู้ได้ เนื้อหาที่ธุรกิจสร้าง และความบันเทิง ตามลำดับ
References
ฐปนนันท์ สัญญากรณ์, ธัมมะทินนา ศรีสุพรรณ และประสิทธิชัย นรากรณ์. (2561). อิทธิพลของเนื้อหาที่ถูกสร้างจากธุรกิจ เนื้อหาที่ถูกสร้างจากผู้ใช้และการรับรู้ตราสินค้าที่ส่งผลต่อคุณภาพที่รับรู้ได้และความภักดีในตราสินค้าบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้ใช้บริการร้านอาหารเพื่อสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(1), 322-342.
Bidyanand, J. (2014). Social Media, Brand Community, User generated comments and Brand Loyalty: Study of Indian Youth. IOSR Journal of Business and Management, 16(10), 122-131
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Godes, D. (2011), Opinion Leadership and Social Contagion in New Product Diffusion, Marketing Science, 30 (2), 224-29
Hutter, K., Hautz, J., Dennhardt, S. and Fuller, J. (2013), The impact of user interactions in social media on brand awareness and purchase intention: the case of MINI on Facebook, Journal of Product & Brand Management, 22(5), 342-351.
Kaplan, M. A., & Kozma, M. (2010). Users of the world, unite! The challenges and opportunities of Social Media Kelley School of Business Indiana University. Business Horizons, 53, 59-68.
Narakorn, P. & Seesupan, T., (2019). Conversation, Community, and E-Commerce as Social Commerce Model for Food and Beverage Business in Phitsanuloke Province. Humanities, Arts and Social Sciences Studies. (HASSS), 19(2), 101-119.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง