ห่วงโซ่คุณค่าและแนวทางการพัฒนาทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์ ที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
คำสำคัญ:
ทุเรียนหลงลับแล, สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์, ห่วงโซ่คุณค่าบทคัดย่อ
การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าและแนวทางการพัฒนาทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์ที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาห่วงโซ่คุณค่าและต้นทุนตลอดจนแนวทางการพัฒนาทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์ที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Indications:GI) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนหลงลับแล ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านการวิเคราะห์ Value Chain การวิเคราะห์ SWOT และ TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า ห่วงโซ่คุณค่าทุเรียนหลงลับแล GI อุตรดิตถ์ เริ่มจากเกษตรกร ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต โดยการคัดเลือกพันธุ์แท้ จัดหาปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม มาผลิตทุเรียนหลงลับแล GI เชื่อมโยงกับแหล่งผลิตทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มีกระบวนการผลิตที่ได้รับการอบรมมาตรฐานสินค้า GI เกษตรกรเก็บผลผลิตโดยคัดเลือกผลที่แก่จัดและไม่บ่มด้วยน้ำยาบ่มทุเรียน มีการตกลงราคาก่อนจำหน่าย โดยจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายหลัก รองลงมาจำหน่ายผลผลิตให้แก่ผู้บริโภคผ่านการขายออนไลน์ ด้านผู้ประกอบการเมื่อทำการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรแล้วจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคผ่าน 2 ช่องทางคือ จำหน่ายผ่านหน้าร้านและผ่านการขายออนไลน์ ขณะที่แนวทางการพัฒนาทุเรียนหลงลับแล ได้กำหนดกลยุทธ์ คือ กลยุทธ์พัฒนาห่วงโซ่คุณค่าเพื่อยกระดับสินค้าทุเรียนหลงลับแล มีแนวทางดังนี้ 1) เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เพิ่มโอกาสทางการตลาดทุเรียนหลงลับแล 2) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้วยนวัตกรรมและคุณค่าสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ 3) สนับสนุนองค์กรทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ 4) เสริมสร้างมาตรฐานและแนวทางพัฒนาคุณภาพสินค้า GI ภายใต้สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
References
กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์. (2561). สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI). สืบค้น 16 ธันวาคม 2562, จาก http://www.ipthailand.go.th/th/gi-001.html
พันธกานต์ ชูจันทร. (2558). ปัญหาความสอดคล้องกับมาตรฐานสากลของพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546. สืบค้น 16 ธันวาคม 2562, จาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2140/1/phunthakan_choo.pdf
ศิริวัฒน์ ทรงธนศักดิ์. (2562). คู่มือการจัดทำและวิเคราะห์ประมาณการข้อมูลต้นทุนการผลิตพืช. ศูนย์สารสนเทศการเกษตร. พิษณุโลก: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2558). แนวคิดระบบโซ่อุปทานสินค้าเกษตรตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคเกษตร: ยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคเกษตร พ.ศ. 2556-2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
เอกชัย อภิศักดิ์กุล และทรรศนะ บุญขวัญ. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
Neuman, W. L., (1991). Social research methods: qualitative and quantitative approaches. Boston: Allyn and Bacon.
Porter, M.E. (1985). Competitive Advantage. Creating and Sustaining Superior Performance. Retrieved December 16, 2019, from http://people.tamu.edu/~v-uenger/446/Value_Chain.pdf
Tiger. (2021). เครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก PESTEL Analysis. สืบค้น 10 มีนาคม 2563, จาก https://thaiwinner.com/pestel มกราคม 18, 2021/Management/By Tiger.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง