การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และแผ่นพับประชาสัมพันธ์สำหรับผลิตภัณฑ์ ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ ของกลุ่มสหกรณ์สตรีทอผ้าบ้านนาเมือง ตำบลป่าแดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การออกแบบ, บรรจุภัณฑ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบ พัฒนาบรรจุภัณฑ์และ สื่อแผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ ของกลุ่มสหกรณ์สตรีทอผ้าบ้านนาเมือง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์และ สื่อแผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพมีผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ตัวแทนสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านนาเมือง 10 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ การสุ่มแบบเจาะจง และการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติและบรรยายเชิงพรรณนา จำนวน 350 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านนาเมือง มีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่โดดเด่น และไม่สามารถดึงดูดผู้บริโภคได้ ส่วนด้านสื่อประชาสัมพันธ์ ใช้วิธีปากต่อปาก ไม่มีเอกสารประชาสัมพันธ์แนะนำสินค้า ดังนั้น จึงหาแนวทางพัฒนาบรรจุภัณฑ์และแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มีความสวยงาม สามารถดึงดูดความสนใจลูกค้าเพิ่มขึ้น และใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งผู้ผลิตผ้าทอบ้านนาเมือง ชอบสีม่วง มากที่สุด เพราะเป็นสีเอกลักษณ์ของผ้าทอลายประจำจังหวัดพิษณุโลก และต้องการให้พัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า สีม่วง มีลายผ้าประจำจังหวัด มีสัญลักษณ์สะพานไม้ไผ่บ้านนาเมือง 2. ความพึงพอใจของผู้บริโภค ประเมินผลพบว่า ผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลก มีความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 และมีความพึงพอใจต่อแผ่นพับประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ ผ้าทอบ้านนาเมืองที่พัฒนาขึ้น ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.59 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56
References
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
จริญญา นวลอินทร์. (2552). ปัจจัยที่มีผลสำเร็จของโครงการกลุ่มอาชีพ OTOP : กรณีศึกษาการดำเนินงานกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านสร้อยหมู่ที่ 10 ตำบลจานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
ดารา ทีปะปาล และ ธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2553). การสื่อสารการตลาด (Marketing Communications) (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
พัชรพล บุญโสภา และธัมมะทินนา ศรีสุพรรณ (2563). กลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ อย่างต่อเนื่องผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตอําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร วิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 2(2), 26-37.
ไพศาล มุ่งสมัคร ถนอม สุวรรณน้อย สรชัย พิศาลบุตร และศิวศิษย์ ช่ำชอง. (2556). รูปแบบการจัดการที่ประสบผลสำเร็จของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์. วารสารสมาคมนักวิจัย. 18(3), 115-123.
ประชิด ทินบุตร. (2531). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ประทีป สุวรรณรักษ์. (2542). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. บุรีรัมย์: ครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์.
ภัสวลี นิติเกษการสุนทร. (2546). หลักสำคัญของการสื่อสาร. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ Imprint..
วรดิษ กาญจนอัครเดช. (2550). ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่สำหรับขนมไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาขนมไทยจังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
วชิร วาสนา. (2555). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมกง ตำบลหนองแก อำเภอเมืองอุทัยธานี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิษณุ สุวรรณเพิ่ม. (2540). การตกแต่งต้นฉบับ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศรัฐ ลิมศิริ, มานะ เอี่ยวบุญ, ชนินทร์ กุลเศรษฐัญชลี, สธนวัชร์ ประกอบผล, วรรณิกา เกิดบาง, นรินทร สรวิทย์ศิรกุล และรตนนภดล สมิตินันทน์. (2560). ปัจจัยด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ซื้อ กรณีศึกษาเขื่อนรัชชประภา อุทยานแห่งชาติ เขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12(1), 137-147.
ศิริเพ็ญ คล้ายถม. (2550). การศึกษาทัศนะต่อการออกแบบแผ่นพับของโรงพยาบาลรามา. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเพทฯ.
สมเกียรติ พิษนอก. (2549). การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผสมสมุนไพรกลุ่มเครื่องสำอางสมุนไพรภิญโญ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. (ปริญญานิพนธ์บัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
สุธาสินี อรุณ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์กับความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการ ของลูกค้าร้านกาแฟ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 1(1), 30-44.
อุษณีย์ มากประยูร. (2551). สภาพและปัญหาการสื่อสารการตลาดของธุรกิจหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 4(7), 9-19.
อุษณีย์ เส็งพานิช. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสมุนไพร ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 1(2), 103-117.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง