การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ความจงรักภักดีของผู้ประกอบการธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ลัสดา ยาวิละ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อรนุช สืบบุญ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • รัตน์ชนก พราหมณ์ศิริ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การบริหารลูกสัมพันธ์, ความจงรักภักดีของลูกค้า, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า ของผู้ประกอบการธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 2) ศึกษาการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของลูกค้า และความจงรักภักดีของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นนิติบุคคลและบุคคลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกเป็นผู้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จำนวน 215 ราย โดยเก็บจากแบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยด้านการเข้าใจความคาดหวังของ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านการติดตามลูกค้า ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับลูกค้า และด้านการบริหารการสื่อสารระหว่างกันตามลำดับ ตัวแปรด้านด้านการสร้างสัมพันธภาพกับลูกค้า ด้านการบริหารการสื่อสารระหว่างกัน และด้านการเข้าใจความคาดหวังของ เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อการความจงรักภักดีของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก คิดเป็นร้อยละ 75 ซึ่งพบว่า ด้านการบริหารการสื่อสารระหว่างกัน เป็นด้านที่มีนัยสำคัญทางสถิติมากที่สุด เนื่องจากเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้การสื่อสารในปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมากทำให้ช่องทางในการติดต่อสื่อสารสะดวกมากยิ่งขึ้น และยังมีค่าใช้จ่ายที่ลดลงมาก ส่งผลให้ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องปรับตัวให้มีช่องทางการสื่อสารให้ทันสมัย โดยผลสามารถสร้างสมการ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้  Y = 0.862 + 0.325 การบริหารการสื่อสารระหว่างกัน + 0.129 การเข้าใจความคาดหวังจากลูกค้า + 0.131 การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้น 21 มกราคม 2563, จาก https://www.dbd.go.th.

กฤตนพัฒน์ สิงห์สีโว. (2555). ผลกระทบของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อความจงรักภักดีของลูกค้าของ บริษัทนำเที่ยวในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิติยา ปลิ่มจิตไพบูลย์. (2558). แนวทางในการพัฒนาการบริหารลูกค้าสัมพันธ์สำหรับลูกค้า องค์กรของธุรกิจอินเทอร์เน็ต (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชนินทร์ ดอนตุ้มไพร และวศิน เหลี่ยมปรีชา. (2559). การจัดการความรู้ลูกค้าของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2546). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: ทิปปิ้ง พ้อยท์เพลส.

ธีรพันธ์ โล่ทองคำ. (2547). Brandage on Branding. กรุงเทพฯ: เหรียญบุญการพิมพ์.

นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 13(3), 181-188.

ลภัสวัฒน์ ศุภผลกุลนันทร์. (2558). หลักการตลาด Principles of Marketing. สงขลา: สเตรนเจอล์บุ๊ค.

วันชัย กิจเรืองโรจน์. (2557). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลกระทบต่อการตอบรับจากลูกค้าและผลดำเนินงานของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิลาสินี อินทร์สุวรรณ. (2561). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์บนสื่อสังคมออนไลน์ของบริษัท แอลอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และความภักดีต่อตราสินค้าในเขตกรุงเทพฯ (วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Griffin, J. (2004). Customer Loyalty: How to earn it, how to keep it. San Francisco : Jossey-Bass Publishers.

Keramati, A., Mehrabi, H., & Mojir, N. (2010). A process-oriented perspective on customer relationship management and organizational performance: An empirical investigation. Industrial Marketing Management, 39, 1170-1185.

Hair, J.F., Blach, W.C. Babin, B.J., Anderson, R.E., and Tatham, R.L., (2006). Multivariate data ananlysis (6th ed). New Jersey: Person Prentice-Hall International Inc.

Lawson-Body, A., & Limayem M. (2004). The Impact of Customer Relationship Management on Customer Loyalty: The Moderating Role of Web Site Characteristics, Journal of Computer-Mediated Communication, 9(3), 428-448.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-31

How to Cite

ยาวิละ ล., สืบบุญ อ. . ., & พราหมณ์ศิริ ร. . (2021). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ความจงรักภักดีของผู้ประกอบการธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(3), 27–39. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/252809