การวิเคราะห์เศรษฐกิจครัวเรือนทางรายได้ รายจ่าย เงินออม และหนี้สินในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • อรรถพล จรจันทร์ คณะวิทยาการจัดการ

คำสำคัญ:

เศรษฐกิจครัวเรือน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มี 2 วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางรายได้และการใช้จ่ายของครัวเรือนในจังหวัดพิษณุโลก และ2)  เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ทางรายได้ การใช้จ่าย การออมและหนี้สินในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งใช้ข้อมูลลักษณะทุติยภูมิในการศึกษาและนำมาอธิบายผลเชิงพรรณนาโดยการวิเคราะห์เศรษฐกิจครัวเรือนทางรายได้ รายจ่าย การออมและหนี้สินในจังหวัดพิษณุโลก ด้วยเทคนิค Simple Regression Analysis วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรายได้และรายจ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือนในจังหวัดพิษณุโลกตั้งแต่ปี 2553 – 2562 และวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ทางรายได้ การใช้จ่าย การออมและหนี้สินในจังหวัดพิษณุโลก ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ของรายได้และรายจ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือนในจังหวัดพิษณุโลก มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ 0.0037 ทำให้ค่า MPC มีค่าเท่ากับ 0.1080  MPS มีค่าเท่ากับ 0.8920 APC เท่ากับ 0.4725 APS เท่ากับ 0.5275 และครัวเรือนในจังหวัดพิษณุโลกมีหนี้สินต่ำกว่าระดับรายได้อยู่ 0.0471 เท่า                

References

เกสินี หมื่นไธสง และอัครวิชช์ รอบคอบ. (2563). การวิเคราะห์แบบแผนค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเนื้อสัตว์ของครัวเรือนเกษตร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2560. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(3), 115-128.

นคเรศ ราชจริต. (2551). พฤติกรรมการบริโภคของครูที่มีหนี้สินในจังหวัดพะเยา (การค้นคว้าอิสระ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัชรี ชยากรโศภิต. (2563). การศึกษาผลกระทบของการบริโภค การออม และการลงทุนในภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อรายได้ประชาชาติของประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์, 9(2), 70–76.

เยาวลักษณ์ สมคำ. (2552). การวิเคราะห์โครงสร้างค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

รวีพรรณ อุตรินทร์. (2563). การตัดสินใจออมเงินและลงทุนของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มรภ.บุรีรัมย์, 11(2), 47–62.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). การส่งเสริมทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10. สืบค้น 1 มิถุนายน 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan10/2_2.pdf

Akekere, J. and Yousuo, P. (2012). Empirical analysis of change in income on private consumption expenditure in Nigeria from 1981 to 2010. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 11(2), 321–331.

Ando, A. Modigliani, F. and Brumberg, R. (1963). The life-cycle hypothesis of saving: aggregate implications and tests. American Economic Review, 53(1), 55–84.

Duesenberry, J. S. (1948). Income, Saving and the Theory of Consumption Behavior. Cambridge, Mass: Harvard University Press.

Keynes, J. M. (1939). Relative Movements of Real Wages and Output. The Economic Journal, 49(193), 34–51.

Modigliani, F. (1996). The European unemployment crisis: a monetarist-Keynesian approach and its implications. Tinbergen and Modern Economics: The Noble Economist Saint.

Palley, T. I. (2007). The Relative Income Theory of Consumption: A Synthetic Keynes-Duesenberry - Friedman Model (Working Paper No.170). University of Massachusetts Amherst. Retrieved 15 May, 2021, From http://peri.umass.edu/fileadmin/pdf/working_papers/working_papers_151-200/WP170.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-07

How to Cite