วิถีชีวิตใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ พันทะลี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • ธัญวัฒน์ จิรวฑฺฒโน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • โศก สุธรรมวงษ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

คำสำคัญ:

วิถีชีวิตใหม่, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มุ่งแสดงให้เห็นถึงสังคมทั่วโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบเกี่ยวกับทางด้านการค้า เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และมีการพัฒนาความรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ทำให้การดำเนินชีวิตของคนทั่วโลกต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ ภายใต้สถานการณ์กระแสโลกาภิวัตน์ประชาชนชาวไทยเองก็ต้องปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น การรักษาสุขอนามัย การศึกษาเล่าเรียน การสื่อสาร และการทำธุรกิจแบบใหม่ ซึ่งภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงข้างต้นนี้ สิ่งที่จะช่วยทำให้การดำเนินชีวิตใหม่ให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน คือ การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้กับการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดความพออยู่พอกินพอใช้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ โดยใช้หลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี และความไม่ประมาท ตลอดจนตระหนักถึงการดำเนินชีวิตอย่างเป็นขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาเศรษฐกิจพอเพียง และการมีคุณธรรมเป็นกรอบในการปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยสามารถดำรงชีวิตได้พอเพียงอย่างมีความสุข

References

กฤษณ์สัมพันธ์ เมนะสูต. (2560). บทความแนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. หนังสือมติชนออนไลน์. เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2560.

กาญจนา กำเนิดพันธ์. (2558). ลักษณะของเศรษฐกิจพอเพียงที่เกิดขึ้นในระดับบุคคลของกรณีศึกษา : นายบำรุง คำอยู่ เกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชนบทศึกษาและการพัฒนา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ปรียานุช ธรรมปิยา. (2557). ตามรอยพ่อ ชีวิตพอเพียง...สู่การ พัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ชุมโชค พลสมัคร. (2560). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. กองบัญชาการกองทัพไทย. กระทรวงกลาโหม.

ตรี บุญเจือ. (2559). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความท้าทายใหม่ของการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ : วิเคราะห์ ประเมิน และพัฒนา. วารสาร กสทช.

นราทิพย์ ผินประดับ และกมลาศ ภูวชนาธิพงศ์. (2563). แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกรุงเทพมหานครตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 281-293.

นิพนธ์ ศศิธรเสาวภา. (2561). การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(2), 155-168.

พิชามญฐ์ แซ่จัน และ สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(2), 33-50

สุรัญญา วิมุขมนต์. (2562). การดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตในการทํางานของพนักงานบริษัท เค เอส เทรดดิ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.

อาธิป ปัญญาประเสริฐ. (2562). การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติงานของบุคลากร : กรณีศึกษากรมศุลกากร. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อานนตรี ประสมสุข. (2562). การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักพระพุทธศาสนาของปราชญ์ชาวบ้านตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 355-368.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-11

How to Cite