ความสัมพันธ์ระหว่างโซเชียลมีเดียและการตอบสนองของผู้บริโภค ในการเข้าถึงข้อมูลทางการตลาด
คำสำคัญ:
โซเชียลมีเดีย, การตอบสนอง, ข้อมูลทางการตลาดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการตอบสนองต่อโซเชียลมีเดียของผู้บริโภคในการเข้าถึงข้อมูลทางการตลาด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลกที่ใช้งานโซเชียลมีเดียในการเข้าถึงข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ข้อมูลทางการตลาดผ่านโซเชียลมีเดียมีความสัมพันธ์กับการตอบสนองของผู้บริโภค รูปแบบการดำเนินชีวิตมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย และพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียมีความสัมพันธ์กับการตอบสนองของผู้บริโภค
References
Kotler, Philip.(2000). Marketing Management. (10thed). New Jersey:Prentice-Hall,Inc.
White, Connie M. (2012). Social media, crisis communication, and emergency management. Boca Raton, FL: Taylor &Francic Group
We Are Social. (2019). สถิติดิจิทัลล่าสุดจาก We Are Social ประจำเดือนเมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2562. จาก https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/digital-stat-2019-we-are-social/
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2547). หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 7 : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วิภาดา พิทยาวิรุฬห์ และณักษ์ กุลิสร์. (2557). การตอบสนองต่อสื่อดิจิตอลของผู้บริโภคในการเข้าถึงข้อมูลทางการตลาด. (วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 : มกราคม – มิถุนายน.
วัชรี กาเซ็นติมะ. (2553). การรับรู้ต่อสื่อโฆษณาออนไลน์บนเว็บเครือข่ายสังคม Facebook. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมสาร.
สิริชัย แสงสุวรรณ. (2558). พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารการตลาดดิจิทัล). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง