การออกแบบและพัฒนาส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งานสำหรับแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่แนะนำการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายใต้โครงการเรารักเชียงใหม่ (We love Chiang Mai)

ผู้แต่ง

  • นันท์สินี มุ่นเชย บริษัท สยามดีแอพ (ประเทศไทย) จำกัด
  • สุนันท์ ธาติ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ศุภเชษฐ์ กันทะณีย์ บริษัท สยามดีแอพ (ประเทศไทย) จำกัด

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่, ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน, เศรษฐกิจการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

จังหวัดเชียงใหม่ดึงผู้ประกอบการทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน และสร้างสรรค์กิจกรรมการ ท่องเที่ยวต่างๆ ให้เชื่อมโยงสอดคล้อง และประสานความร่วมมือภายใต้แบรนด์และแคมเปญเดียวกันผ่านโครงการ เรารักเชียงใหม่ (We love Chiang Mai) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว สร้างภาพลักษณ์ ของจังหวัดให้มีความโดดเด่น และน่าจดจำ เนื่องด้วยในปัจจุบันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนการมีส่วน ร่วมและเพิ่มประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์มีส่วนสำคัญอย่างมาก ผู้วิจัยจึงออกแบบและพัฒนาส่วนต่อ ประสานกับผู้ใช้งานของแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อใช้สำหรับแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเพื่ออำนวยความ สะดวกแก่ผู้ใช้บริการและเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการ ผลการวิจัยพบว่า แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์ เคลื่อนที่ที่พัฒนาขึ้นสามารถแสดงข้อมูลสถานที่ ระบุตำแหน่งปัจจุบันของผู้ใช้งาน อีกทั้งเชื่อมโยงข้อมูลจาก เว็บไซต์เพื่อแสดงข่าวประชาสัมพันธ์ได้อย่างครบถ้วน เมื่อนำระบบไปใช้จริงและทดสอบความพึงพอใจ ผลการ ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานในส่วนการออกแบบหน้าจอได้รับความพึงพอสูงที่สุดเมื่อเทียบกับด้านอื่น ๆ ค่าเฉลี่ย 4.73 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด

References

ทักษพร บุญเรือง. (2561) ความรู้เบื่องต้นโปรแกรม Adobe Photoshop CS6. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/pearrrw/khwam-ru-beux-ng-tn-porkaerm-adobephotoshop-cs6/baeb-thdsxb-hlang-reiyn.

ธรรมชนก คำแก้ว. (2558). รายงานผลการวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเภทโบราณสถาน : กรณีศึกษา พระอารามหลวงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

นฤพนธ์ เพ็ชรพุ่ม, ทัศนีย์ คัดเจริญ, วิชญา รุ่นสุวรรณ์, และนัฏฐพันธ์ นาคพงษ์. (2559). การพัฒนาเว็บแอป พลิเคชันเพื่อการท่องเที่ยวประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พัดวี. (2563). คู่มือ สอนใช้ WordPress. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://padveewebschool.com/wordpress-for-beginners.

แมงโก้ คอนซัลแตนท์. (2558). Application แอปพลิเคชัน คืออะไร. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://www.mangoconsultant.com/th/news-knowledge/knowledge/274-application-แอปพลิเคชัน-คืออะไร.

อิสรา ชื่นตา, จารี ทองคำ, และจิรัฎฐา ภูบุญอบ. (2558). การค้นคืนสารสนเทศการท่องเที่ยวในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย โดยใช้ออนโทโลยี. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 10(2), 15-25.

กานต์พิชชา สลับ. (2563). เปิดแล้ว “We Love Chiang Mai” ลดกันสนั่นเมือง. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://www.77kaoded.com/content/1357034.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-06

How to Cite

มุ่นเชย น., ธาติ ส., & กันทะณีย์ ศ. (2020). การออกแบบและพัฒนาส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งานสำหรับแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่แนะนำการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายใต้โครงการเรารักเชียงใหม่ (We love Chiang Mai). วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(2), 1–12. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/245340