พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผล ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไรซ์เบอร์รี่บราวนี่อบกรอบผสม อัลมอนด์ของผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุท นรินทรางกูล ณ อยุธยา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ศศินิภา ศรีกัลยานิวาท คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการซื้อ, ส่วนประสมทางการตลาด, ไรซ์เบอร์รี่บราวนี่อบกรอบผสมอัลมอนด์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผล      ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไรซ์เบอร์รี่บราวนี่อบกรอบผสมอัลมอนด์ของผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลก มีรูปแบบงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคที่เคยทานผลิตภัณฑ์ไรซ์เบอร์รี่บราวนี่อบกรอบผสมอัลมอนด์ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปทางสถิติประมวลผลข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือ ค่า Chi-Square Test ผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไรซ์เบอร์รี่บราวนี่อบกรอบผสมอัลมอนด์พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านราคาผู้บริโภคให้ความสำคัญระดับมากที่สุด รองลงมาคือปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย และปัจจัยด้านการส่งเสริมทางการตลาดผู้บริโภคให้ความสำคัญระดับมาก

References

กฤษณา อุ่นธนโชติกา. (2551). ปัจจัยพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ในศูนย์การค้าวรรัตน์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชี้ช่องรวย. (2561). เทรนด์สุขภาพ ยังมาแรงในปี 62 กลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพเป็นสินค้าขายดี. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2562. จาก https://cheechongruay.smartsme.co.th/content/23337

ธนวรรณ สุทธิวงศ์. (2555). พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าผ่านสื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธิติมา พัดลม และ กุลเชษฐ์ มงคล .(2558). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนฟู้ดส์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารการจัดการธุรกิจ (มหาวิทยาลัยบูรพา), 4(2), 6-21.

นที บุญพราหมณ์.(2546). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค.เข้าถึงได้ http:www.rilp.ac.th.

ประชาชาติธุรกิจ. (2561). แนวโน้ม ‘อาหารและเครื่องดื่ม’ เพื่อสุขภาพ. สืบค้นข้อมูลเมื่อ สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2562. จาก https://www.prachachat.net/columns/news-268743

ภูริ ชุณห์ขจร .(2557). ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคเบเกอรี่ระดับบนในเขตกรุงเทพมหานคร.(วารสาร การจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่).1(1), 1-10.

สุชญา อาภาภัทร.(2559). ทำการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่แบบ Take Away ของกลุ่มคนทางานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สายน้ำวล กาวิโล. (2553). การส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น :กรณีศึกษา : เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภรเสรีรัตน์. (2552).การบริหารตลาดยุคใหม่.กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-18

How to Cite