ความพึงพอใจในการบริหารจัดการชุมชนแบบพึ่งตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกในชุมชนบ่อทอง ตำบลบ่อทอง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, การบริหารจัดการ, ชุมชนแบบพึ่งตนเอง, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการบริหารจัดการชุมชนแบบพึ่งตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกในชุมชนบ่อทอง หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อทอง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกหมู่บ้านบ่อทอง หมู่ 2 ตำบลบ่อทอง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 400 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบคือ Independent Sample T-Test และ One way Anova ผลวิจัยพบว่า ความพึงพอใจในการบริหารจัดการเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกในชุมชนบ่อทอง หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อทอง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความพึงพอใจในด้านการมุ่งพัฒนาสังคมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมากที่สุด รองลงมาคือด้านการดำรงคุณภาพชีวิตมี ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมี ด้านการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันภาคการเกษตรมี และด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตามลำดับ
การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการบริหารจัดการเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกในชุมชนบ่อทอง หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อทอง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จำแนกด้านเพศไม่แตกต่างกัน แต่ด้าน อายุ การศึกษาและรายได้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
References
ณัฐวุฒิ วรวิกรม. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามบทบาทหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงตะขบ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. [ออนไลน์] http://090466.abt.in.th/ สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560.
นภาภรณ์ หะวานนท์และคณะ. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนัก กองทุนสนับสนุนงานวิจัย.
ประธินพร แพทย์รังสี. (2552). การประเมินผลโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองแบบพอเพียง ตามแนวพระราชดำริในโครงการเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ ศึกษาเฉพาะเกษตรกร อำเภอท่าใหม่ จังหวัด
จันทบุรี. ภาคนิพนธ์ รป.ม.(นโยบายสาธารณะ),บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัฐพงษ์ บุญญานุวัตร. (2554). การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สาคร มาตรา. (2554). การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ : ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุภาพร สุภาพร ภู่ไพบูลย์. (2558). การจัดการชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโพธิ์ศรี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ : ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.
สมทรง บรรจงธิติทานต์. (2560). แนวทางการจัดการชุมชนพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนชุมชนบ้านหัวคู้ ตำบลพระยาบันลือ อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายา 2560. หน้า186-199.
สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. (2550). องค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียงจากการพิจารณาแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่. สืบค้นเอกสารจาก http://www.nrct.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2548). การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน. คู่มือการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง.กรุงเทพมหานคร : บริษัท บีทีเอสเพรส จำกัด.
อนุพงษ์ ถาวรวงศ์. (2551). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเองตามแนวพระราชดำริในจังหวัดจันทบุรี. ภาคนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง