ส่วนประสมทางการตลาดและกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้ บัตรเครดิตอิออน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • อรุณี นุสิทธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สัมพันธ์ เงินเหรียญ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาด, กระบวนการตัดสินใจเลือกใช้

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับส่วนประสมทางการตลาดบริการและระดับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิตอิออนของผู้ถือบัตรเครดิตอิออน จำนวน 400 คน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีแบบเจาะจง ค่าสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นส่วนประสมทางการตลาดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อยู่ในระดับมากที่สุด เรื่อง ความหลากหลายของช่องทางในการขอใช้บริการ รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมากที่สุด เรื่อง การรับของแถมและของสมนาคุณเมื่อใช้บริการ ตามลำดับ ส่วนระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการรับรู้ถึงความต้องการ อยู่ในระดับมากที่สุด  คือ เรื่องการตัดสินใจใช้บัตรเครดิตเอเอเพราะมีความจำเป็นต้องใช้งานขณะนั้น รองลงมาคือ ด้านการตัดสินใจซื้อ อยู่ในระดับมากที่สุด คือ เรื่องการตัดสินใจจากความพึงพอใจของตัวเอง ข้อเสนอแนะจากการศึกษาคือ ผู้ให้บริการบัตรเครดิตอิออนควรเน้นย้ำให้ผู้บริโภคทราบถึงความสะดวกในการสมัครเพื่อใช้บริการ เพราะผู้บริโภคจะตัดสินใจจากความจำเป็นต้องใช้งานขณะนั้น ดังนั้น การโฆษณาถึงต้องเน้นถึงความสะดวกในการสมัครบัตรอิออน ซึ่งมีหลากหลายช่องทาง

References

จันทิมา จักรกฤชกูล. (2557). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการบัตรเครดิต (เคทีซี) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด.

ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ; เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

ชนานันท์ พันธ์สมจิตร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บัตรเดบิตธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในการซื้อสินค้าและบริการของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปัณฑิตา รัตโนภาส. (2558). พฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปณิศา มณีจินดาและศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2554). กลยทุธ์การตลาดและการวางแผน. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

พัชร์ทิตา กะการดี. (2554). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิตของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อิออน ธนทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน), (2559). รายงานประจำปี 2557/2558. เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2559 จาก http://aeontsth.listedcompany.com/shareholder_meeting.html

Money Hub, (2559). สถานการณ์สินเชื่อบัตรเครดิตล่าสุดปี 2559, บทความออนไลน์. เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2559 จาก https://moneyhub.in.th/

Zeithaml, V. A., Bitner ,M. J., & Gremler, D. D. (2006). Services Marketing: Integrating Customer Focus Across the Firm (5th ed). Boston: McGraw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-18

How to Cite